คุณธรรมและความโปร่งใส ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

“การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA)”

ตัวชี้วัดที่ 9 การเปิดเผยข้อมูล ประกอบด้วย 5 ตัวชี้วัดย่อย ดังนี้

ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.1 ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลพื้นฐาน
ลำดับข้อมูลองค์ประกอบด้านข้อมูลลิงค์หรือ URL ข้อมูลหมายเหตุ
o1โครงสร้าง• แสดงแผนผังโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการของหน่วยงาน*
• แสดงตำแหน่งที่สำคัญและการแบ่งส่วนงานภายใน ยกตัวอย่างเช่น สำนัก กอง ศูนย์ฝ่าย ส่วน กลุ่ม เป็นต้น
* กรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ให้แสดงแผนผังโครงสร้าง ทั้งฝ่ายการเมืองและฝ่ายข้าราชการประจำ
 
o2ข้อมูลผู้บริหาร• แสดงข้อมูลของผู้บริหารสูงสุด และผู้ดำรงตำแหน่งทางการบริหารของหน่วยงานอย่างน้อยประกอบด้วย*
(1) ผู้บริหารสูงสุด
(2) รองผู้บริหารสูงสุด
• แสดงข้อมูลของผู้บริหารแต่ละคน อย่างน้อยประกอบด้วย
(1) ชื่อ-นามสกุล
(2) ตำแหน่ง
(3) รูปถ่าย
(4) ช่องทางการติดต่อ
* กรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ให้แสดงข้อมูลผู้บริหารในฝ่ายการเมืองและฝ่ายข้าราชการประจำ
 
o3อำนาจหน้าที่• แสดงข้อมูลเฉพาะที่อธิบายถึงหน้าที่และอำนาจของหน่วยงาน*
* ต้องไม่เป็นการแสดงข้อมูลกฎหมายทั้งฉบับ
 
o4แผนยุทธศาสตร์หรือแผนพัฒนาหน่วยงาน• แสดงแผนการดำเนินภารกิจของหน่วยงานที่มีระยะมากกว่า 1 ปี
• มีข้อมูลรายละเอียดของแผนฯ อย่างน้อยประกอบด้วย
(1) ยุทธศาสตร์หรือแนวทาง
(2) เป้าหมาย
(3) ตัวชี้วัด
• เป็นแผนที่มีระยะเวลาบังคับใช้ครอบคลุมปี พ.ศ. 2566
 
o5ข้อมูลการติดต่อ• แสดงข้อมูลการติดต่อของหน่วยงาน อย่างน้อยประกอบด้วย
(1) ที่อยู่หน่วยงาน
(2) หมายเลขโทรศัพท์
(3) E-mail
(4) แผนที่ตั้ง
 
o6กฎหมายที่เกี่ยวข้อง• แสดงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานหรือการปฏิบัติงานของหน่วยงาน 
การประชาสัมพันธ์
ลำดับข้อมูลองค์ประกอบด้านข้อมูลลิงค์หรือ URL ข้อมูลหมายเหตุ
o7ข่าวประชาสัมพันธ์

• แสดงข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่หรือภารกิจของหน่วยงาน
• เป็นข้อมูลข่าวสารที่เกิดขึ้นในปีพ.ศ. 2566

 
การปฏิสัมพันธ์ข้อมูล
ลำดับข้อมูลองค์ประกอบด้านข้อมูลลิงค์หรือ URL ข้อมูลหมายเหตุ
o8Q&A• แสดงตำแหน่งบนเว็บไซต์ของหน่วยงานที่บุคคลภายนอกสามารถสอบถามข้อมูลต่าง ๆ ได้และหน่วยงานสามารถสื่อสารให้คำตอบกับผู้สอบถามได้โดยมีลักษณะเป็นการสื่อสารได้สองทาง ทางหน้าเว็บไซต์ของหน่วยงาน (Q&A) ยกตัวอย่างเช่น Messenger Live Chat, Chatbot 
o9Social Network• แสดงตำแหน่งบนเว็บไซต์ของหน่วยงานที่สามารถเชื่อมโยงไปยังเครือข่ายสังคมออนไลน์ของหน่วยงาน ยกตัวอย่างเช่น Facebook, Twitter, Instagram 
o10นโยบายคุ้มครองข้อมูล
ส่วนบุคคล

• แสดงนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของหน่วยงาน

 
ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.2 การบริหารงาน
การดำเนินงาน
ลำดับข้อมูลองค์ประกอบด้านข้อมูลลิงค์หรือ URL ข้อมูลหมายเหตุ
o11แผนดำเนินงานและ
การใช้งบประมาณประจำปี
• แสดงแผนการดำเนินภารกิจของหน่วยงานที่มีระยะ 1 ปี
• มีข้อมูลรายละเอียดของแผนฯ อย่างน้อยประกอบด้วย
(1) โครงการหรือกิจกรรม
(2) งบประมาณที่ใช้
(3) ระยะเวลาในการดำเนินการ
• เป็นแผนที่มีระยะเวลาบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2566
 
o12รายงานการกำกับติดตามการดำเนินงานและการใช้งบประมาณประจำปี
รอบ 6 เดือน
• แสดงรายงานผลความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามแผนดำเนินงานประจำปีในข้อ o11
• มีเนื้อหาหรือรายละเอียดความก้าวหน้า อย่างน้อยประกอบด้วย
(1) ความก้าวหน้าการดำเนินการแต่ละโครงการ/กิจกรรม
(2) รายละเอียดงบประมาณที่ใช้ดำเนินงานแต่ละโครงการ/กิจกรรม
• สามารถจัดทำข้อมูลเป็นแบบรายเดือน หรือรายไตรมาส หรือราย 6 เดือนที่มีข้อมูลครอบคลุมในระยะเวลา 6 เดือนแรกของปี พ.ศ. 2566
 
o13รายงานผลการดำเนินงานประจำปี• แสดงรายงานผลการดำเนินงานตามแผนดำเนินงานประจำปี
• มีข้อมูลรายละเอียดสรุปผลการดำเนินงาน อย่างน้อยประกอบด้วย
(1) ผลการดำเนินโครงการหรือกิจกรรม
(2) ผลการใช้จ่ายงบประมาณ
(3) ปัญหา/อุปสรรค
(4) ข้อเสนอแนะ
• เป็นรายงานผลของปี พ.ศ. 2565

 

 
การปฏิบัติงาน
ลำดับข้อมูลองค์ประกอบด้านข้อมูลลิงค์หรือ URL ข้อมูลหมายเหตุ
o14คู่มือหรือมาตรฐาน
การปฏิบัติงาน
• แสดงคู่มือหรือแนวทางการปฏิบัติงานที่เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานใช้ยึดถือปฏิบัติให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน*
• มีข้อมูลรายละเอียดของการปฏิบัติงาน อย่างน้อยประกอบด้วย
(1) เป็นคู่มือปฏิบัติภารกิจใด
(2) สำหรับเจ้าหน้าที่หรือพนักงานตำแหน่งใด
(3) กำหนดวิธีการขั้นตอนการปฏิบัติอย่างไร
• จะต้องมีอย่างน้อย 1 คู่มือ
* กรณีมีองค์กรกลางที่มีหน้าที่กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติในเรื่องนั้น หน่วยงานสามารถนำข้อมูลดังกล่าวเผยแพร่บนเว็บไซต์ของหน่วยงานได
 
การให้บริการ*
* การให้บริการ หมายถึง การให้บริการตามอำนาจหน้าที่หรือภารกิจตามกฎหมายของหน่วยงาน สำหรับหน่วยงานที่มีการปฏิบัติงานหรือการให้บริการ เป็นจำนวนมาก อาจมุ่งเน้นเผยแพร่การปฏิบัติงานหรือการให้บริการที่มีความสำคัญต่อภารกิจของหน่วยงาน
ลำดับข้อมูลองค์ประกอบด้านข้อมูลลิงค์หรือ URL ข้อมูลหมายเหตุ
o15คู่มือหรือมาตรฐาน
การให้บริการ
• แสดงคู่มือการให้บริการประชาชนหรือคู่มือแนวทางการปฏิบัติที่ผู้รับบริการหรือผู้มาติดต่อกับหน่วยงานใช้เป็นข้อมูลในการขอรับบริการหรือติดต่อกับหน่วยงาน
• มีข้อมูลรายละเอียดของการปฏิบัติอย่างน้อยประกอบด้วย
(1) บริการหรือภารกิจใด
(2) กำหนดวิธีการขั้นตอนการให้บริการหรือการติดต่ออย่างไร
• หน่วยงานจะต้องเปิดเผยอย่างน้อย 1 คู่มือ
 
o16ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ• แสดงข้อมูลสถิติการให้บริการของหน่วยงาน
• สามารถจัดทำข้อมูลเป็นแบบรายเดือน หรือรายไตรมาส หรือราย 6 เดือนที่มีข้อมูลครอบคลุมในระยะเวลา 6 เดือนแรกของปี พ.ศ. 2566
 
o17รายงานผลการสำรวจความพึงพอใจการให้บริการ• แสดงผลสำรวจความพึงพอใจการให้บริการของหน่วยงาน
• เป็นรายงานผลของปี พ.ศ. 2565
 
o18E–Service• แสดงช่องทางการให้บริการข้อมูลหรือธุรกรรมภาครัฐที่สอดคล้องกับภารกิจหน่วยงานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยผู้ขอรับบริการไม่จำเป็นต้องเดินทางมายังหน่วยงาน
• สามารถเข้าถึงหรือเชื่อมโยงไปยังช่องทางข้างต้นได้จากเว็บไซต์หลักของหน่วยงาน
 
ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.3 การจัดซื้อจัดจ้าง
การจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุ
ลำดับข้อมูลองค์ประกอบด้านข้อมูลลิงค์หรือ URL ข้อมูลหมายเหตุ
o19แผนการจัดซื้อจัดจ้างหรือแผนการจัดหาพัสดุ• แสดงแผนการจัดซื้อจัดจ้างหรือแผนการจัดหาพัสดุตามที่หน่วยงานจะต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560*
• เป็นข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างในปี พ.ศ. 2566
* กรณีไม่มีการจัดจ้างที่มีวงเงินเกิน 5 แสนบาทหรือการจัดจ้างที่กฎหมายไม่ได้กำหนดให้ต้องเผยแพร่แผนการจัดซื้อจัดจ้าง ให้หน่วยงานอธิบายเพิ่มเติมโดยละเอียด หรือเผยแพร่ว่าไม่มีการจัดซื้อจัดจ้างในกรณีดังกล่าว
 
o20ประกาศต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างหรือ
การจัดหาพัสดุ
• แสดงประกาศการจัดซื้อจัดจ้างตามที่หน่วยงานจะต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ยกตัวอย่างเช่น ประกาศเชิญชวน ประกาศผลการจัดซื้อจัดจ้าง เป็นต้น
• เป็นข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างในปี พ.ศ. 2566
 
o21สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุรายเดือน• แสดงรายงานผลการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงาน*
• มีข้อมูลรายละเอียดผลการจัดซื้อจัดจ้าง ยกตัวอย่างเช่น งานที่ซื้อหรือจ้างวงเงินที่ซื้อหรือจ้าง ราคากลาง วิธีการซื้อหรือจ้าง รายชื่อผู้เสนอราคาและราคาที่เสนอ ผู้ได้รับการคัดเลือกและราคาที่ตกลง เหตุผลที่คัดเลือกโดยสรุปเลขที่และวันที่ของสัญญาหรือข้อตกลงในการซื้อหรือจ้าง เป็นต้น
• เป็นข้อมูลแบบรายเดือน ที่มีข้อมูลครอบคลุมในระยะเวลา 6 เดือนแรกของปี พ.ศ. 2566
*กรณีไม่มีการจัดซื้อจัดจ้างในรอบเดือนใดให้เผยแพร่ว่าไม่มีการจัดซื้อจัดจ้างในเดือนนั้น
 
o22รายงานผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุประจำปี• แสดงรายงานผลการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงาน
• มีข้อมูลรายละเอียด อย่างน้อยประกอบด้วย
(1) งบประมาณที่ใช้ในการจัดซื้อจัดจ้าง
(2) สรุปรายการที่มีการจัดซื้อจัดจ้าง
(3) ปัญหา/อุปสรรค
(4) ข้อเสนอแนะ
• เป็นรายงานผลของปี พ.ศ. 2565
 
ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.4 การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
ลำดับข้อมูลองค์ประกอบด้านข้อมูลลิงค์หรือ URL ข้อมูลหมายเหตุ
o23นโยบายหรือแผนการบริหารทรัพยากรบุคคล• เป็นนโยบายหรือแผนการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
• แสดงนโยบายของผู้บริหารสูงสุด หรือแผนการบริหารและพัฒนา
ทรัพยากรบุคคลที่กำหนดในนามของหน่วยงาน
• เป็นนโยบายหรือแผนฯ ที่ใช้บังคับในปี พ.ศ. 2566
 
o24การดำเนินการตามนโยบายหรือแผนการบริหารทรัพยากรบุคคล• แสดงรายงานผลความก้าวหน้าการดำเนินการตามนโยบายหรือแผนการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ในข้อ o23
• มีเนื้อหาหรือรายละเอียดความก้าวหน้า อย่างน้อยประกอบด้วย
(1) ความก้าวหน้าการดำเนินการแต่ละโครงการ/กิจกรรม
(2) รายละเอียดงบประมาณที่ใช้ดำเนินงานแต่ละโครงการ/กิจกรรม
• สามารถจัดทำข้อมูลเป็นแบบรายเดือน หรือรายไตรมาส หรือราย 6 เดือน
ที่มีข้อมูลครอบคลุมในระยะเวลา 6 เดือนแรกของปี พ.ศ. 2566

 

 
o25หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล• แสดงหลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล*
• หลักเกณฑ์ฯ อย่างน้อยประกอบด้วย
(1) การสรรหาและคัดเลือกบุคลากร
(2) การบรรจุและแต่งตั้งบุคลากร
(3) การพัฒนาบุคลากร
(4) การประเมินผลการปฏิบัติราชการ
(5) การให้คุณให้โทษและการสร้างขวัญกำลังใจ
• เป็นหลักเกณฑ์ฯ ที่ใช้บังคับในปี พ.ศ. 2566
* กรณีมีองค์กรกลางบริหารงานบุคคลที่มีหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์ในเรื่องนั้น หน่วยงานสามารถนำหลักเกณฑ์ดังกล่าวเผยแพร่บนเว็บไซต์ของหน่วยงานได้
 
o26รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลประจำปี• แสดงรายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
• มีข้อมูลรายละเอียดของการดำเนินการ อย่างน้อยประกอบด้วย
(1) ผลการดำเนินการตามนโยบายหรือแผนการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
(2) สรุปข้อมูลสถิติด้านทรัพยากรบุคคล เช่น อัตรากำลัง การแต่งตั้ง/โยกย้ายการฝึกอบรม/พัฒนา เป็นต้น
(3) ปัญหา/อุปสรรค
(4) ข้อเสนอแนะ
• เป็นรายงานผลของปี พ.ศ. 2565
 
ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.5 การส่งเสริมความโปร่งใส
การจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
ลำดับข้อมูลองค์ประกอบด้านข้อมูลลิงค์หรือ URL ข้อมูลหมายเหตุ
o27แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริต
และประพฤติมิชอบ
• แสดงคู่มือหรือแนวทางการดำเนินการต่อเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน
• มีข้อมูลรายละเอียดของการปฏิบัติงาน อย่างน้อยประกอบด้วย
(1) รายละเอียดวิธีการที่บุคคลภายนอกจะทำการร้องเรียน
(2) รายละเอียดขั้นตอนหรือวิธีการในการจัดการต่อเรื่องร้องเรียน
(3) ส่วนงานที่รับผิดชอบ
(4) ระยะเวลาดำเนินการ
 
o28ช่องทางแจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ• แสดงช่องทางที่บุคคลภายนอกสามารถแจ้งเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน ผ่านทางช่องทางออนไลน์ของหน่วยงาน โดยแยกต่างหากจากช่องทางการร้องเรียนเรื่องทั่วไป เพื่อเป็นการคุ้มครองข้อมูลของผู้แจ้งเบาะแสและเพื่อให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
• สามารถเข้าถึงหรือเชื่อมโยงไปยังช่องทางข้างต้นได้จากเว็บไซต์หลักของหน่วยงาน
 
o29ข้อมูลเชิงสถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ• แสดงข้อมูลสถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน*
• มีข้อมูลความก้าวหน้าการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบอย่างน้อยประกอบด้วย
(1) จำนวนเรื่องร้องเรียนทั้งหมด
(2) จำนวนเรื่องที่ดำเนินการแล้วเสร็จ
(3) จำนวนเรื่องที่อยู่ระหว่างดำเนินการ
• สามารถจัดทำข้อมูลเป็นแบบรายเดือน หรือรายไตรมาส หรือราย 6 เดือน ที่มีข้อมูลครอบคลุมในระยะเวลา 6 เดือนแรกของปี พ.ศ. 2566
*กรณีไม่มีเรื่องร้องเรียนให้เผยแพร่ว่าไม่มีเรื่องร้องเรียน
ไม่มีเรื่องร้องเรียน
การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม
ลำดับข้อมูลองค์ประกอบด้านข้อมูลลิงค์หรือ URL ข้อมูลหมายเหตุ
o30การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม• แสดงรายงานผลการเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงาน
• มีข้อมูลผลการเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกได้มีส่วนร่วม อย่างน้อยประกอบด้วย
(1) ประเด็นหรือเรื่องในการมีส่วนร่วม
(2) สรุปข้อมูลของผู้มีส่วนร่วม
(3) ผลจากการมีส่วนร่วม
(4) การนำผลจากการมีส่วนร่วมไปปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงาน
• เป็นการดำเนินการในปี พ.ศ. 2566

 

 

ตัวชี้วัดที่ 10 การป้องกันการทุจริต ประกอบด้วย 2 ตัวชี้วัดย่อย ดังนี้

ตัวชี้วัดย่อยที่ 10.1 การดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริต
นโยบาย No Gift Policy*
*ดูแนวทางและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์สำนักงาน ป.ป.ท.
ลำดับข้อมูลองค์ประกอบด้านข้อมูลลิงค์หรือ URL ข้อมูลหมายเหตุ
o31ประกาศเจตนารมณ์นโยบาย No Gift Policy จากการปฏิบัติหน้าที่

• เป็นประกาศอย่างเป็นทางการที่มีการลงนามโดยผู้บริหารสูงสุด*
• มีวัตถุประสงค์เพื่อประกาศว่าตนเองและเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกคนในหน่วยงานจะไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดในก่อน/ขณะ/หลังปฏิบัติหน้าที่ ที่จะส่งผลให้เกิดการทุจริตและประพฤติมิชอบทั้งในปัจจุบันและอนาคต
• เป็นการประกาศสำหรับปีพ.ศ. 2566
*ผู้บริหารสูงสุดที่ดำรงตำแหน่งใน ปี พ.ศ. 2566

 
o32การสร้างวัฒนธรรม
No Gift Policy
• แสดงการดำเนินกิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อปลุกจิตสำนึกหรือสร้างวัฒนธรรมให้เจ้าหน้าที่ในการปฏิเสธการรับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่
• เป็นการดำเนินกิจกรรมในลักษณะการประชุม การสัมมนา เพื่อถ่ายทอดหรือมอบนโยบาย หรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ
• เป็นการดำเนินการในปี พ.ศ. 2566

 

 
o33รายงานผลตามนโยบาย
No Gift Policy
• แสดงการประเมินผลและรายงานผลตามนโยบาย No Gift Policy จากการปฏิบัติหน้าที่
• เป็นรายงานรอบ 6 เดือนของปี พ.ศ. 2566
 
การประเมินความเสี่ยงเพื่อป้องกันการทุจริต
ลำดับข้อมูลองค์ประกอบด้านข้อมูลลิงค์หรือ URL ข้อมูลหมายเหตุ
o34การประเมินความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบประจำปี• แสดงผลการประเมินความเสี่ยงของการดำเนินงานหรือการปฏิบัติหน้าที่ ที่อาจก่อให้เกิดการทุจริตและประพฤติมิชอบ
• มีข้อมูลรายละเอียดของผลการประเมิน อย่างน้อยประกอบด้วย
(1) เหตุการณ์ความเสี่ยงและระดับของความเสี่ยง
(2) มาตรการและการดำเนินการในการบริหารจัดการความเสี่ยง
• เป็นการดำเนินการในปี พ.ศ. 2566
 
o35การดำเนินการเพื่อจัดการ
ความเสี่ยงการทุจริตและ
ประพฤติมิชอบ
• แสดงผลการประเมินความเสี่ยงของการดำเนินงานหรือการปฏิบัติหน้าที่ ที่อาจก่อให้เกิดการทุจริตและประพฤติมิชอบ
• มีข้อมูลรายละเอียดของผลการประเมิน อย่างน้อยประกอบด้วย
(1) เหตุการณ์ความเสี่ยงและระดับของความเสี่ยง
(2) มาตรการและการดำเนินการในการบริหารจัดการความเสี่ยง
• เป็นการดำเนินการในปี พ.ศ. 2566

 

 

 

………………………………………………

 

 
แผนป้องกันการทุจริต
* กรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถใช้แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตจากระบบ e-plan โดยจะต้องเผยแพร่ไฟล์บนเว็บไซต์ของหน่วยงาน เพื่อให้ประชาชนและสาธารณชนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้
ลำดับข้อมูลองค์ประกอบด้านข้อมูลลิงค์หรือ URL ข้อมูลหมายเหตุ
o36แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต• แสดงแผนปฏิบัติการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการทุจริตหรือส่งเสริมมาตรฐานจริยธรรม หรือธรรมาภิบาลของหน่วยงาน
• มีข้อมูลรายละเอียดของแผนฯ อย่างน้อยประกอบด้วย
(1) โครงการ/กิจกรรม
(2) งบประมาณ*
(3) ช่วงเวลาดำเนินการ
• เป็นแผนที่มีระยะเวลาบังคับใช้ครอบคลุมปี พ.ศ. 2566
*กรณีการดำเนินการ/กิจกรรมที่ไม่ใช้งบประมาณ ให้ระบุในแผนว่าไม่ได้ใช้งบประมาณดำเนินการ
 
o37รายงานการกำกับติดตามการดำเนินารป้องกันการทุจริตประจำปีรอบ 6 เดือน• แสดงรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตตามข้อ o36
• มีข้อมูลรายละเอียดความก้าวหน้า อย่างน้อยประกอบด้วย
(1) ความก้าวหน้าการดำเนินการแต่ละโครงการ/กิจกรรม
(2) รายละเอียดงบประมาณที่ใช้ดำเนินงานแต่ละโครงการ/กิจกรรม
• สามารถจัดทำข้อมูลเป็นแบบรายเดือน หรือรายไตรมาส หรือราย 6 เดือน ที่มีข้อมูลครอบคลุมในระยะเวลา 6 เดือนแรกของปี พ.ศ. 2566

 

 
o38รายงานผลการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปี• แสดงรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตประจำปี
• มีข้อมูลรายละเอียดสรุปผลการดำเนินการ อย่างน้อยประกอบด้วย
(1) ผลการดำเนินโครงการหรือกิจกรรม
(2) ผลการใช้จ่ายงบประมาณ
(3) ปัญหา/อุปสรรค
(4) ข้อเสนอแนะ
• เป็นรายงานผลของปี พ.ศ. 2565
 
ตัวชี้วัดย่อย 10.2 มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใส
มาตรการเสริมสร้างมาตรฐานทางจริยธรรม*
* ดูแนวทางและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์สำนักงาน ก.พ.
ลำดับข้อมูลองค์ประกอบด้านข้อมูลลิงค์หรือ URL ข้อมูลหมายเหตุ
o39ประมวลจริยธรรมสำหรับ
เจ้าหน้าที่ของรัฐ
• แสดงประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ*
• แสดงข้อกำหนดจริยธรรม* (ถ้ามี) เพื่อกำหนดเป็นหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติตนของเจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน
* กรณีประมวลจริยธรรมจะต้องดำเนินการโดยองค์กรกลางบริหารงานบุคคลที่รับผิดชอบกรณีข้อกำหนดจริยธรรมจะต้องดำเนินการโดยหน่วยงานเอง
 
o40การขับเคลื่อนจริยธรรม• แสดงผลการเสริมสร้างมาตรฐานทางจริยธรรมให้แก่เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานอย่างน้อยประกอบด้วย
(1) การจัดตั้งทีมให้คำปรึกษาตอบคำถามทางจริยธรรมหรือคณะทำงานขับเคลื่อนเรื่องจริยธรรม
(2) การจัดทำแนวปฏิบัติDos & Don’ts เพื่อลดความสับสนเกี่ยวกับพฤติกรรมสีเทาและเป็นแนวทางในการประพฤติตนทางจริยธรรม
(3) การฝึกอบรมที่มีการสอดแทรกสาระด้านจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐในหลักสูตร หรือกิจกรรมเสริมสร้าง/ส่งเสริมจริยธรรมของหน่วยงาน
• เป็นการดำเนินการในปี พ.ศ. 2566
 
o41การประเมินจริยธรรม
เจ้าหน้าที่ของรัฐ
• แสดงรายงานการนำการประเมินจริยธรรมไปใช้ในกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคล กระบวนการใดกระบวนการหนึ่ง
• แสดงการกำหนดให้มีการนำผลการประเมินพฤติกรรมทางจริยธรรมไปใช้ประกอบการพิจารณาในหลักเกณฑ์บริหารทรัพยากรบุคคล กระบวนการใดกระบวนการหนึ่ง
• เป็นการดำเนินการในปี พ.ศ. 2566

 

 
มาตรการส่งเสริมความโปร่งใสและป้องกันการทุจริตภายในหน่วยงาน
ลำดับข้อมูลองค์ประกอบด้านข้อมูลลิงค์หรือ URL ข้อมูลหมายเหตุ
o42มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน• แสดงการวิเคราะห์ผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ในปีพ.ศ. 2565
• มีข้อมูลรายละเอียดการวิเคราะห์อย่างน้อยประกอบด้วย
(1) ประเด็นที่เป็นข้อบกพร่องหรือจุดอ่อนที่จะต้องแก้ไขโดยเร่งด่วน
(2) ประเด็นที่จะต้องพัฒนาให้ดีขึ้น ที่มีความสอดคล้องกับผลการประเมินฯ
• มีการกำหนดแนวทางการนำผลการวิเคราะห์ไปสู่การปฏิบัติหรือมาตรการเพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงานให้ดีขึ้น ซึ่งสอดคล้องตามผลการวิเคราะห์ผลการประเมินฯ โดยมีรายละเอียดต่าง ๆ อย่างน้อยประกอบด้วย
(1) การกำหนดผู้รับผิดชอบหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
(2) การกำหนดขั้นตอนหรือวิธีการปฏิบัติ
(3) การกำหนดแนวทางการกำกับติดตามให้นำไปสู่การปฏิบัติและการรายงานผล
 
o43การดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน• แสดงความก้าวหน้าหรือผลการดำเนินการตามมาตรการเพื่อส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน ตามข้อ o42 ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมโดยมีข้อมูลรายละเอียดการนำมาตรการเพื่อส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน
• แสดง QR code แบบวัด EIT บนเว็บไซต์หน่วยงาน เพื่อให้ผู้รับบริการหรือติดต่อราชการมีโอกาสมีส่วนร่วมในการประเมิน ITA ของหน่วยงาน
• เป็นการดำเนินการในปี พ.ศ. 2566