เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2567 เวลา 18.30 น. ที่ผ่านมา ณ สุนทรียสถาน มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ได้จัดนิทรรศการวันอนุรักษ์มรดกไทย “หนังประโมทัยศิลปะการแสดงที่กำลังเลือนหาย” เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ 2 เมษายน 2567 โดยมี นายสนั่น พงษ์อักษร ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นประธานในพิธีเปิดงานนิทรรศการ ซึ่งมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์จัดขึ้น ณ สุนทรียสถาน มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ 2 เมษายน โดยมีนายธนภัทร ณ ระนอง นายรุจติศักดิ์ รังษี รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ หัวหน้าส่วนราชการ อาจารย์ นักศึกษา และประชาชนเข้าร่วมงานผู้ช่วยศาสตราจารย์พัฒนา พึ่งพันธ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ กล่าวว่า วันอนุรักษ์มรดกไทย ตรงกับวันที่ 2 เมษายนของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ในฐานะมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวงในงานด้านศิลปวัฒนธรรมไทยอันเป็นมรดกของชาติ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ได้ดำเนินงานด้านมรดกไทยและมรดกพื้นถิ่นตามพันธกิจด้านทะนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม โดยได้สร้างองค์ความรู้และวิจัย การจัดการเรียน การสอน และบริการวิชาการในด้านวัฒนธรรม ตลอดจนรณรงค์สร้างความเข้าใจให้ท้องถิ่นรู้สึกสำนึก รักษาและสืบทอดมรดกไทยและมรดกพื้นถิ่นวันอนุรักษ์มรดกไทย ประจำปี 2567 ในปีนี้ งานส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ จึงได้จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ประกอบด้วย การจัดนิทรรศการตัวหนังประโมทัย ในระหว่างวันที่ 3-5 เมษายน ณ สุนทรียสถาน การสาธิตทางวัฒนธรรม “หนังประโมทัยและลิเกลาวมรดกภูมิปัญญาที่กำลังเลือนหาย” โดยมีคณะละครพื้นบ้านเข้าร่วมจำนวน 3 กลุ่มดังนี้ หนังประโมทัยบ้านโจด อำเภอกมลาไสย หนังประโมทัยบ้านนาสะเดา อำเภอนาคู และลิเกลาวบ้านสองห้อง อำเภอร่องคำ นายสนั่น พงษ์อักษร ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวว่า ขอชื่นชมในการสร้างความเข้มแข็งด้านศิลปและวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์และชื่นชมวิสัยทัศน์ของคณะผู้บริหารที่ได้ริเริ่มโครงการใหม่ ๆ และน่าสนใจ กิจกรรมวันอนุรักษ์มรดกไทยในครั้งนี้ จะเห็นได้ว่ามหาวิทยาลัยให้ความสำคัญของงานศิลปวัฒนธรรมในฐานะเสาหลักของพันธกิจของมหาวิทยาลัยเพื่อท้องถิ่น ซึ่งเป็นสิ่งที่จะอนุรักษ์สืบสานงานมรดกทางวัฒนธรรมของชาติและของท้องถิ่น รวมทั้งตอบสนองนโยบายด้าน Soft Power ของรัฐบาล
ภาพ/ข่าว : งานสื่อสารองค์#มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น#มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์#มกส#KSU#KalasinUniversity