สาขาวิชานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ม.กาฬสินธุ์สร้างหมู่บ้านต้นแบบคณะศิลปศาสตร์ : หมู่บ้านฝ้ายย้อมคราม ยกระดับผลิตภัณฑ์ OTOP

Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest

          ระหว่างวันที่ 14-15 กุมภาพันธ์ 2562 สาขาวิชานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นได้จัดโครงการหมู่บ้านต้นแบบคณะศิลปศาสตร์ขึ้น ณ กลุ่มทอผ้าฝ้ายย้อมครามบ้านหนองอีบุตร ตำบลหนองอีบุตร อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งปีนี้จัดหมู่บ้านต้นแบบภายใต้แนวคิด “หมู่บ้านฝ้ายย้อมคราม” โดย อาจารย์กิตติ์ธนัตถ์ ญาณพิสิษฐ์ หัวหน้าโครงการ กล่าวว่า “คณะศิลปศาสตร์เป็นคณะที่มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะศาสตร์ทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่พร้อมจะเข้าไปร่วมมือและให้บริการวิชาการกับชุมชนในจังหวัด ซึ่งในปีนี้กระแสผ้าทอมือและผลิตภัณฑ์ผ้าทอที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมซึ่งมาแรงในตลาดผู้บริโภค ดังนั้น คณะศิลปศาสตร์จึงมอบหมายให้ สาขาวิชานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาท้องถิ่นโดยเฉพาะในด้านหัตถกรรมท้องถิ่นและผลิตภัณฑ์ชุมชน จึงเป็นที่มาของการเข้ามาสนับสนุนวิชาการในการออกแบบและสร้างลวดลายผ้าทอแก่กลุ่มทอผ้าบ้านหนองอีบุตรแห่งนี้” กลุ่มทอผ้าบ้านหนองอีบุตรเดิมเป็นการทอเพื่อใช้ในครอบครัว เมื่อมีการรวมกลุ่มจึงได้ร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ที่ได้เข้าไปช่วยในการยกระดับผลิตภัณฑ์ OTOP ร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์บริการ ในปีงบประมาณ 2561-2562 ทำให้ผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายย้อมครามของบ้านหนองอีบุตรได้รับการยอมรับของผู้บริโภคในปัจจุบัน โดยเฉพาะการยกระดับการย้อมครามให้มีคุณภาพดี ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์มีทั้งผ้าพื้น ผ้าคราม ผ้าซิ่นมัดหมี่ ผ้าตัดชุดและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่พร้อมให้บริการแก่ลูกค้า

[ngg src=”galleries” ids=”31,33″ display=”basic_thumbnail”]

Share this post with your friends

Share on facebook
Share on google
Share on twitter
Share on linkedin