ม.กาฬสินธุ์ ส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายไทกาฬสินธุ์ พัฒนาคุณค่าของผลิตภัณฑ์ด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นให้สามารถเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน

Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest

เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา ณ บ้านคำบง ตำบลคำบง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ งานส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม กองกิจการนักศึกษา สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ได้จัดทำโครงการส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายไทกาฬสินธุ์ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์พัฒนา พึ่งพันธุ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ

นายเดชา บุ่งอุทุม หัวหน้างานส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม กล่าวว่า การจัดอบรมในครั้งนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-9 กรกฎาคม 2566 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณค่าของผลิตภัณฑ์ด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นให้สามารถเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนตำบลคำบง ส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่ม หรือยกระดับมาตรฐาน ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ผ้าฝ้ายพื้นเมืองตำบลคำบง รวมถึงส่งเสริมการตลาด การประชาสัมพันธ์ช่องการขาย ผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายพื้นเมืองตำบลคำบง ซึ่งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนคำบง จำนวน 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทอผ้า กลุ่มคำบงแฮนคราฟท์ กลุ่มคราม หมู่ 11 กลุ่มน้ำไหล หมู่ 5 กลุ่มประชารัฐ กลุ่มเย็บด้วยจักรปักด้วยมือ ประกอบด้วยกิจกรรมการอบรม จำนวน 3 ด้าน ได้แก่ การอบรมส่งเสริมการผลิตผ้าฝ้าย การอบรมการส่งเสริมและพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายพื้นเมืองตำบลคำบง การอบรมการเพิ่มรายได้และส่งเสริมช่องการขายผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าพื้นเมืองตำบลคำบง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์พัฒนา พึ่งพันธุ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ถ่ายทอด ส่งเสริมพัฒนาและเผยแพร่มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยการส่งเสริมการใช้ทรัพยากร ต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาแต่บรรพบุรุษ และใกล้สูญหายไปจากสังคม นำกลับมาให้อยู่ในวิถีชีวิต โดยการทำให้เกิดมีรายได้ที่สามารถเลี้ยงครอบครัวได้ จะส่งผลให้ประชาชนในชุมชน หันกลับมายอมรับและเห็นคุณค่า เห็นความสำคัญ ตระหนักและหวงแหนในที่สุด

Share this post with your friends

Share on facebook
Share on google
Share on twitter
Share on linkedin