ม.กาฬสินธุ์ จัดสัมมนาโครงการ “การพัฒนาและยกระดับแพลตฟอร์มการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำระดับจังหวัดแบบร่วมมือ ด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยีและการขับเคลื่อนระบบข้อมูลในจังหวัดกาฬสินธุ์”

Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest

วันที่ 7 มิถุนายน 2566 เวลา 09.00 น. ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมพยับหมอก โดยรองศาสตราจารย์จิระพันธ์ ห้วยแสน อธิการบดีมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ให้เกียรติเป็นประธาน เปิดการสัมมนา โครงการ”การพัฒนาและยกระดับแพลตฟอร์ม การแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำระดับจังหวัดแบบร่วมมือ ด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยีและการขับเคลื่อนระบบข้อมูลในจังหวัดกาฬสินธุ์”. ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิมพ์ลิขิต แก้วหานาม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา กล่าวว่า ตามที่มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ให้ดำเนินโครงการ “การพัฒนาและยกระดับแพลตฟอร์มการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำระดับจังหวัดแบบร่วมมือด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยีและการขับเคลื่อนระบบข้อมูลในจังหวัดกาฬสินธุ์” ประจำปีงบประมาณ 2566 ซึ่งประกอบด้วยโครงการย่อยจำนวน 4 โครงการ ได้แก่ (1) การบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาและยกระดับแพลตฟอร์มการแก้ไขปัญหาความยากจน ระดับจังหวัดกาฬสินธุ์ (2) นวัตกรรมการบริหารจัดการแปลงรวมเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนด้วยโมเดลธุรกิจผักปลอดภัย (HUB to Health) ซึ่งดำเนินการในพื้นที่อำเภอนามนและอำเภอกุฉินารายณ์ (3) การพัฒนาศักยภาพหุ้นส่วนความร่วมมือในการบริหารห่วงโซ่อุปทานความยากจนของผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกก ธุรกิจก้อนเห็ดลดขยะ และอาหารสัตว์เศรษฐกิจต้นทุนต่ำ ซึ่งดำเนินการในพื้นที่อำเภอดอนจานและอำเภอกมลาไสย และ (4) การพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรสร้างสรรค์ จากเฮือนสู่ห้างด้วยนวัตกรรมด้านการเกษตรและพลังงานเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งดำเนินการในพื้นที่อำเภอสหัสขันธ์และอำเภอหนองกุงศรี.โดยการดำเนินงานโครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อพัฒนาและยกระดับแนวทางการบูรณาการบริหารจัดการในพื้นที่ (Provincial Platform) เชื่อมโยงเชิงระบบและความสัมพันธ์การขับเคลื่อนเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน (2) พัฒนาและยกระดับแพลตฟอร์มการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำระดับจังหวัด (Provincial Poverty Alleviation Operating System: PPAOS) ประกอบด้วย ระบบค้นหาสอบทาน ระบบข้อมูลครัวเรือนยากจน ระบบส่งต่อความช่วยเหลือ และโมเดลแก้จนในการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ (3) พัฒนาโมเดลแก้จน (Operating Model) ระดับพื้นที่ที่เหมาะสมกับศักยภาพของคนจนเป้าหมายและสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ที่ทำให้คนจนหลุดพ้นความยากจน ตามกรอบแนวคิดการดำรงชีพอย่างยั่งยืน (Sustainable Livelihoods Framework; SLF) ด้วยการบูรณาการงานวิจัย นวัตกรรม และเทคโนโลยีในระดับจังหวัดอย่างเป็นระบบในการยกระดับเชิงเศรษฐกิจพื้นที่กาฬสินธุ์อย่างเป็นรูปธรรมและยกระดับรายได้คนจน 40% ล่าง (4) ขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความยากจนระดับอำเภอ สร้างกระบวนการ และกลไกอย่างเป็นรูปธรรมด้วยระบบสารสนเทศการตัดสินใจ (Decision System Support : DSS) และยกระดับนักบริหารจัดการเชิงพื้นที่ (Area Manager) เพื่อเป็นเครื่องมือในการบูรณาการประสานงานความร่วมมือ สร้างยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาความยากจนเชิงพื้นที่ (5) จัดทำยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาความยากจนระดับจังหวัด ที่สามารถทำให้คนจนหลุดพ้นความยากจนยกทั้งจังหวัด ที่เชื่อมโยงกับแผนพัฒนาจังหวัดขจัดความยากจน/ ยุทธศาสตร์แก้จน โดย ววน. และ Milestone การขับเคลื่อนทั้งจังหวัดภายในมีกระบวนการ กลไก และยกระดับสถาบันการศึกษา (Area Based University) เพื่อให้มีบทบาทในการขับเคลื่อนพัฒนาเชิงยุทธศาสตร์ในระดับจังหวัดอย่างยั่งยืน. เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจระหว่างนักวิจัยและภาคีเครือข่ายให้ดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดประสิทธิผล จึงได้จัดโครงการสัมมนาในครั้งนี้ ระหว่างวันที่ 7-9 มิถุนายน 2566 นี้ ซึ่งโครงการดังกล่าวมีผู้เข้าร่วมประกอบด้วยนักวิจัย 56 คน ผู้ช่วยนักวิจัย 8 คน และภาคีเครือข่ายจำนวน 112 คน รวมทั้งสิ้น 176 คน รองศาสตราจารย์จิระพันธ์ ห้วยแสน อธิการบดีมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ กล่าวว่า การแก้ปัญหาดังกล่าวจำเป็นต้องบูรณาการความร่วมมือของทุกหน่วยงาน เพื่อให้บรรลุผลตามยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ด้วยการลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในทุกมิติและการเสริมพลังทางสังคม และเป็นไปตามแนวทางการขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ด้วยการเพิ่มโอกาสให้กับกลุ่มเป้าหมายประชากรที่มีรายได้ต่ำสุดให้สามารถเข้าถึงระบบสวัสดิการและการบริการที่มีคุณภาพของรัฐ และมีอาชีพที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ตลอดจนสอดคล้องกับนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ในการปรับปรุงระบบบสวัสดิการและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน และการแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิตของประชาชน

Share this post with your friends

Share on facebook
Share on google
Share on twitter
Share on linkedin