“ผ้าทอพื้นเมืองกาฬสินธุ์ มุ่งสู่มาตรฐานตรานกยูงพระราชทาน”
วันที่ 1 กรกฎาคม 2562 ณ ห้องเรียนรวม 1 ชั้น 1 อาคารบริการการศึกษาและบริการกลาง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พื้นที่นามน รศ.จิระพันธ์ ห้วยแสน อธิการบดีมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ให้เกียรติเป็นประธานเปิดและมอบใบรับรองมาตรฐานตรานกยูงพระราชทานแก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ที่เข้าร่วมโครงการในการยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกาย มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
อาจารย์กิตติิ์ธนัตถ์ ญาณพิสิษฐ์ หัวหน้าคณะทำงานโครงการฯ กล่าวว่า พิธีมอบใบรับรองมาตรฐานตรานกยูงพระราชทานครั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องจากการดำเนินโครงการยกระดับผลิตภัณฑ์OTOP จังหวัดกาฬสินธุ์ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างกรมวิทยาศาสตร์บริการและมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เพื่อผลักดันผลิตภัณฑ์จากผ้าให้ได้รับมาตรฐาน ซึ่งในการดำเนินงานที่ผ่านมาในปี 2562 มีกลุ่มวิสาหกิจชมชนได้รับมาตรฐานจำนวน 27 กลุ่ม ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างคุณค่าและมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์ผ้าของชุมชนในจังหวัดกาฬสินธุ์”
มาตรฐานตรานกยูงพระราชทานนี้ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานสัญลักษณ์นกยูงไทยให้เป็นเครื่องหมายรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย จำนวน 4 ชนิดได้แก่ นกยูงสีทอง (Royal Thai Silk) นกยูงสีเงิน (Classic Thai Silk) นกยูงสีน้ำเงิน (Thai Silk) และ นกยูงสีเขียว (Thai Silk Blend)
นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมการบรรยาย ในการผลักดันผ้าทอพื้นเมืองจังหวัดกาฬสินธุ์ไปสู่ตลาดต่างประเทศโดย คุณอู๋-วิชระวิชญ์ อัครสันติสุขดีไซเนอร์และเจ้าของแบรนด์ WISHARAWISH ที่มีผลงานในแวดวงแฟชั่นระดับโลก และการทบทวนศักยภาพผ้าทอกาฬสินธุ์ การก้าวสู่ตลาดต่างประเทศโดย อาจารย์ออต -กิตติ์ธนัตถ์ ญาณพิสิษฐ์ หัวหน้าคณะทำงานฯ