เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา ณ อาคารกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ได้จัดการแข่งขันการนำเสนอผลงานของผู้เข้าประกวด BCG (U2T For BCG) ในงานนิทรรศการโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิด-19 ด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T For BCG) ในวันดังกล่าวได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชยุทธ จันทะรี เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ ซึ่งกิจกรรมจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23 -24 กันยายน 2565 เพื่อแสดงผลงานจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการผ่านกลไก BCG ซึ่งมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ นำคณะอาจารย์ นักศึกษาลงพื้นที่พัฒนาใน 79 ตำบล 3 จังหวัด ได้แก่จังหวัดกาฬสินธุ์ มุกดาหาร และอำนาจเจริญ ด้วยการนำองค์ความรู้ด้านสังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ พัฒนากำลังคนให้มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการทำงานในปัจจุบัน โดยมีการจัดบูธแสดงผลงานกว่า 79 บูธ ผลการแข่งขันรางวัลชนะเลิศ ทีมตำบลหนองแปน รองชนะเลิศอันดับ 1 ทีมตำบลโคกสมบูรณ์รองชนะเลิศอันดับ 2 ทีมตำบลบัวขาว รางวัลชมเชย จำนวน 9 ทีม ทีมตำบลสงเปลือย ทีมตำบลกุดหว้า ทีมตำบลเหล่าใหญ่ ทีมตำบลภูดิน ทีมตำบลศรีสมเด็จ ทีมตำบลโนนบุรี ทีมตำบลยอดแกง ทีมตำบลสำราญใต้ ทีมตำบลนาโก
รองศาสตราจารย์จิระพันธ์ ห้วยแสน อธิการบดีมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ กล่าวว่า โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG เป็นการต่อยอดการดำเนินการจาก “โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ” โดยจะใช้ข้อมูล Thailand Community Big Data (TCD) ที่ได้ดำเนินการมาใน “โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ” ที่บ่งบอกถึงศักยภาพและความพร้อมของทรัพยากร ความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายทางวัฒนธรรมของพื้นที่ที่จะนำมาใช้ในการพัฒนารายพื้นที่ด้วยยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ BCG รวมถึงการเพิ่มและรักษาระดับการจ้างงานบัณฑิตและประชาชนในพื้นที่ โดยมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ รับผิดชอบโครงการ U2T จำนวน 79 ตำบล ในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ มุกดาหาร และอำนาจเจริญ โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิด-19 ด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาทักษะแก่ผู้ได้รับการจ้างงาน ภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) ให้สามารถเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการด้าน BCG ในพื้นที่ ด้วยองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อพัฒนาแนวทางแก้ปัญหาเชิงนวัตกรรมผ่านกิจกรรมการแข่งขัน มหาวิทยาลัยสู่ตำบลแชมป์เปี้ยน ปี 2022 (KSU-U2T for BCG champion 2022) อย่างน้อย 158 ผลิตภัณฑ์ ใน 79 ตำบล และเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการบูรณาการความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยกับชุมชนในพื้นที่ องค์กรปกครองท้องถิ่นและโรงเรียนในพื้นที่ เพื่อร่วมกันในการพัฒนาท้องถิ่น ในจังหวัดกาฬสินธุ์