ม.กาฬสินธุ์ร่วมกับบริษัทมิตชูบิชิ คอร์ปอเรชั่น จัดโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมันสำประหลัง จากผลการวิจัยสู่เกษตรกรจังหวัดกาฬสินธุ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและสร้างรายได้เพิ่ม
วันที่ 13 มีนาคม 2562 รองศาสตราจารย์จิระพันธ์ ห้วยแสน อธิการบดีมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมันสำประหลังจากผลการวิจัยสู่เกษตรกรจังหวัดกาฬสินธุ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและสร้างรายได้เพิ่ม โดยมีผู้บริหารบริษัทมิตชูบิชิ คอร์ปอเรชั่น ให้เกียรติเข้าร่วมาน
รองศาสตราจารย์จิระพันธ์ ห้วยแสน อธิการบดีมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ กล่าวว่า รายได้หลักของประชากรมาจากการผลิตข้าว ยางพารา อ้อย และมันสำปะหลัง โดยมันสำปะหลังเป็นพืชที่เกษตรกรปลูกมากที่สุดรองจากข้าว พื้นที่ปลูกประมาณ 300,000 ไร่ แต่ผลผลิตเฉลี่ยที่ได้ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ประมาณ 3.0 ตันต่อไร่ ซึ่งมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์มีภารกิจในการวิจัยและพัฒนาการผลิตพืช และมันสำปะหลังเป็นพืชหนึ่งที่มีการวิจัยมาอย่างต่อเนื่อง จนได้เทคโนโลยีการผลิตต่างๆ ที่เหมาะสม แต่มีการถ่ายทอดสู่เกษตรกรไม่กว้างขวางมากนัก เนื่องจากข้อจำกัดด้านงบประมาณ และบุคลากร รูปแบบความร่วมมือของผู้มีส่วนได้เสียในการการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมันสำประหลังจากผลการวิจัยสู่เกษตรกรจังหวัดกาฬสินธุ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและสร้างรายได้เพิ่มทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในแปลงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และเข้าใจเทคโนโลยีต่างๆ อย่างลึกซึ้ง จากประสบการณ์ตรงที่ได้จากแปลงเรียนรู้ที่ดำเนินการโดยเกษตรกรผู้นำร่วมกับนักวิจัย ทำให้เกษตรกรได้พิสูจน์สิ่งที่เรียนรู้ด้วยตัวเอง ก่อนจะนำความรู้ที่ได้จากแปลงเรียนรู้ไปปฏิบัติในแปลงของตนเองเพื่อเป็นแปลงต้นแบบให้เกษตรกรข้าเคียงได้มาศึกษาเรียนรู้ และเกิดการขยายผลได้อย่างกว้างขวาง ในการดำเนินงานครั้งนี้ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ได้รับทุนสนับสนุนการทำวิจัยเรื่อง Transfer of Cassava Production Technology Attained from Research to Farmers in Kalasin Province to Enhance Their Production Efficiency and Income (Phase III) จากบริษัทมิตชูบิชิ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญีปุ่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังที่ได้จากผลการวิจัยสู่เกษตรกรในพื้นที่นำร่อง พัฒนาการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายในจังหวัดกาฬสินธุ์ให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น และมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 20 และเพื่อสร้างเครือข่ายการเรียนรู้เทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังของจังหวัดกาฬสินธุ์
นายสายัญ พันธุ์สมบูรณ์ หัวหน้าโครงการวิจัยฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการดำเนินงานเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลัง 100 คน ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลัง อย่างเป็นระบบ และคาดว่าจะสามารถนำไปปฏิบัติหรือถ่ายทอดสู่เกษตรกรรายอื่นๆ ได้อย่างน้อย 400 คน ในปีถัดไปเกษตรกรสามารถนำเทคโนโลยีที่ได้เรียนรู้ ไปใช้ในการผลิตมันสำปะหลังในแปลงของตนเอง ทำให้ได้ผลผลิต และรายได้เพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 40 จากผลผลิตเดินที่ได้ในแต่ละพื้นที่ และช่วยลดต้นทุนการผลิตต่อหน่วยของเกษตรกร จากการใช้ปัจจัยการผลิตอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ และการเกิดเครือข่ายการเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยให้การพัฒนาการผลิตมันสำปะหลังของจังหวัดกาฬสินธุ์มีความยั่งยืน
[ngg src=”galleries” ids=”51″ display=”basic_thumbnail”]