Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest

นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นโชว์นิทรรศการผ้าแส่วสารสนเทศทางวัฒนธรรม

          ในระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ – 7 มีนาคม 2562  ณ ศาลาภูมิปัญญา สนามหน้าศาลากลางจังหวัดกาฬสินธุ์(หลังเก่า) สาขาวิชานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ได้เกียรติจากจังหวัดกาฬสินธุ์ให้เป็นผู้จัดนิทรรศการทางวิชาการภูมิปัญญาผ้าทอพื้นเมืองกาฬสินธุ์ ซึ่งปีนี้จัดในแนวคิด “ผ้าแส่วสารสนเทศทางวัฒนธรรม” ประกอบในงานเทศกาลโปงลาง แพรวากาฬสินธุ์ ประจำปี 2562

ในนิทรรศการประกอบด้วยการจัดแสดงผ้าแส่วโบราณ จำนวน 15 ผืน ซึ่งแสดงออกถึงลวดลายโบราณที่หาชมยาก ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษา รวบรวม จัดหมวดหมู่และจัดเก็บในฐานข้อมูลทางวัฒนธรรมของศูนย์ความเป็นเลิศสิ่งทอพื้นเมืองแพรวากาฬสินธุ์ และการสาธิตการทำผ้าแพรวาโบราณโดยนักศึกษาสาขาวิชานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น  ซึ่งในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ผ่านมานั้นได้รับความสนใจจากนายไกรสร  กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ ที่เยี่ยมชมนิทรรศการครั้งนี้ และยังเห็นด้วยในการรวบรวมลวดลายเพื่ออนุรักษ์และพัฒนาผ้าแพรวาต่อไป
          อาจารย์กิตติ์ธนัตถ์ ญาณพิสิษฐ์ อาจารย์หลักสูตรการจัดการทางวัฒนธรรม สาขาวิชานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น กล่าวว่า “ ผ้าแส่วเป็นผ้าต้นแบบลวดลายของผ้าแพรวาของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไท หญิงสาวจะเก็บลวดลายไว้เป็นของตัวเองบนผืนผ้าขนาดเล็ก เมื่อต้องการจะทอผ้าและสร้างลวดลายก็ใช้ผ้าผืนดังกล่าวเป็นแม่แบบในการทำลวดลาย   เมื่อลูกสาวจะออกเรือนก็มอบผ้ามรดกให้ลูกสาวออกเรียนไปอยู่กับสามี หนึ่งในผ้าที่แม่ให้ลูกสาวคือผ้าแส่ว  ดังนั้น ผ้าแส่วจึงเป็นสารสนเทศทางวัฒนธรรมที่ผูกพันในวิถีของชาวผู้ไทดังเดิม สมควรที่จะต้องศึกษาและอนุรักษ์เอาไว้”

[ngg src=”galleries” ids=”40″ display=”basic_thumbnail”]

Share this post with your friends

Share on facebook
Share on google
Share on twitter
Share on linkedin