Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest

มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ส่งเสริมการเรียนรู้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของจังหวัดกาฬสินธุ์
มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ จัดโครงการส่งเสริมเรียนรู้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของกาฬสินธุ์ เพื่ออนุรักษ์ เผยแพร่ และสืบสานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของจังหวัดกาฬสินธุ์ให้นักศึกษา และประชาชนทั่วไปได้ภาคภูมิใจในมรดกทางวัฒนธรรม
เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2562 ที่หอประชุมอเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ รองศาสตราจารย์จิระพันธ์ ห้วยแสน อธิการบดีมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เป็นประธานพิธีเปิดโครงการส่งเสริมการเรียนรู้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งจัดขึ้นเพื่ออนุรักษ์ และเผยแพร่ด้านศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดกาฬสินธุ์ ให้เป็นที่รู้จัก ให้นักศึกษาเกิดความภาคภูมิใจในมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของจังหวัดกาฬสินธุ์ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำไปสู่การพัฒนาและสืบสานต่อไป 
รองศาสตราจารย์จิระพันธ์ ห้วยแสน อธิการบดีมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ กล่าวว่า จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นจังหวัดที่มีทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย ตลอดจนมีรูปแบบของความคิดสร้าง สรรค์ที่เป็นภูมิปัญญาของชาวท้องถิ่นที่สอดคล้องต่อวิถีการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน มีแหล่งภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่เป็นที่รู้จัก และมีชื่อเสียงในกลุ่มนักท่องเที่ยว อาทิ ผ้าไหมแพรวาบ้านโพน ผลิตภัณฑ์อาหารจากการแปรรูปทั้งเมี่ยงปลาร้า หมูทุบ ไส้กรอกปลารมควัน ไวน์รสเลิศ ตลอดจนผลิตภัณฑ์อาหารจากการแปรรูปข้าวเขาวง โครงการส่งเสริมการเรียนรู้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์จึงเป็นกิจกรรมหนึ่งในสร้างจิตสำนึก และความตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรภูมิปัญญาของบรรพบุรุษชาวกาฬสินธุ์ และร่วมกันอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมดังกล่าวให้จรรโลงสู่ชนรุ่นหลัง อีกทั้งยังเป็นการดึงศักยภาพของเยาวชน และชุมชนให้สามารถพัฒนาสินค้า ภายในงานมีการแสดงวงโปงลางมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ การแสดงของนักศึกษาคณะต่าง ๆ การแข่งขันสาวไหม การประกวดภูมิปัญญาด้านอาหาร การทำอาหารจากข้าวเหนียวเขาวงซึ่งเป็นข้าวเหนียวที่มีชื่อเสียงของจังหวัดกาฬสินธุ์ การแข่งขันขับร้องสรภัญญะ การประกวดร้องเพลงลูกทุ่งอีสาน และมีการเสวนาเรื่อง “ภูมิปัญญามรดกทางวัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์” โดยปราชญ์ชุมชนด้านมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

[ngg src=”galleries” ids=”20″ display=”basic_thumbnail”]

Share this post with your friends

Share on facebook
Share on google
Share on twitter
Share on linkedin