Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest

เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา เวลา 09.00 น.​ ณ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์​ อำเภอเมือง​ จังหวัดกาฬสินธุ์ คณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ นำโดย พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง ประธานคณะกรรมาธิการ พร้อมด้วยกรรมาธิการและคณะเดินทางเข้าร่วมการเดินทางโดยมี นายปราชญา อุ่นเพชรวรากร รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ ให้การต้อนรับและบรรยายสรุปภาพรวมจังหวัดกาฬสินธุ์ให้รับทราบ จากนั้น รองศาสตราจารย์จิระพันธ์ ห้วยแสน อธิการบดีมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ได้บรรยายสรุปเกี่ยวกับการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ โดยมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พุทธศักราช 2558 กำหนดให้การควบรวมมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์เข้าด้วยกัน เป็นมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ซึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ซึ่งการควบรวมมหาวิทยาลัยทั้งสองแห่งนี้จะเป็นการปรับปรุงการดำเนินการ และเป็นการลดความซ้ำซ้อนของสถาบันอุดมศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดเดียวกัน โดยให้บทบาทหน้าที่ตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2558 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การศึกษาและส่งเสริมงานวิจัยเพื่อสร้างและพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยี ให้บริการทางวิชาการแก่ท้องถิ่นและสังคม ให้โอกาสทางการศึกษาแก่ประชาชน ทะนุบำรุงศาสนาศิลปะ วัฒนธรรม และการกีฬา รวมทั้งสนับสนุนกิจกรรมของรัฐและท้องถิ่นและมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการได้เยี่ยมชมนิทรรศการของแต่ละคณะ/สาขา ของมหาวิทยาลัยด้วยต่อมา คณะเดินทางได้ตรวจเยี่ยมโรงเรียนและให้กำลังใจครูและบุคลากรทางการศึกษา ณ โรงเรียนท่าลำดวนประชาบำรุง ตำบลหนองกุง อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมีการมอบคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์กีฬา และทุนการศึกษาให้กับนักเรียน หลังจากนั้น เดินทางไปศูนย์วิจัยและฝึกอบรมภูสิงห์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์​ ตำบลภูดิน อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นศูนย์การถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเกษตรที่มีความเข้มแข็งด้านวิชาการการบริการ ที่สามารถให้ประชาชนเข้ามาเรียนรู้ได้ตลอดชีวิตภารกิจ ได้แก่ 1) สร้างและสนับสนุนงานวิจัยทางเกษตร 2) บริการวิชาการอาชีพเกษตรกรรม 3) พัฒนางานฟาร์มเชิงธุรกิจตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 4) สร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างเอกชนและหน่วยงานราชการอื่น ๆ ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการจะนําข้อมูลที่ได้รับนําไปสู่การจัดทําข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะไปยังรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาดำเนินการตามหน้าที่ต่อไป

Share this post with your friends

Share on facebook
Share on google
Share on twitter
Share on linkedin