Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest

ระหว่างวันที่ ๑๕ – ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ ณ โรงแรมหนองคายธาวิลล่า จังหวัดหนองคาย โดย รองศาสตราจารย์จิระพันธ์ ห้วยแสน อธิการบดีมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ให้เกียรติเป็นประธานเปิดโครงการจัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเชิงพื้นที่ (Sustainable Community Development) พร้อมมอบนะโยบาย หลังจากนั้นเป็นการบรรยายหัวข้อ “การขับเคลื่อนระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมอย่างมีส่วนร่วมตามแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พูลศักดิ์ โกษียาภรณ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานสภาโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และการบรรยายหัวข้อ “แผนการผลิตกําลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชยุทธ จันทะรี รองอธิการบดี ด้านวิชาการและวิจัยฯ พร้อมทำกิจกรรม Workshop (๑๐-Quick wins/ ๑-๑๐ Projects) สำหรับ วัตถุประสงค์ ของการจัดทำโครงการ มีอยู่ ๕ ประการหลักๆ ดังนี้๑. เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับแนวคิด หลักการ และกระบวนการของการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ (Strategic Plan) ๒. เพื่อให้สามารถจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระยะยาวขององค์การได้อย่างเป็นรูปธรรม และบูรณาการกับแผนที่เกี่ยวข้องได้อย่างเป็นระบบ๓. การวางแผนยุทธศาสตร์ภายใต้กรอบแนวคิด Balanced Scorecard ‘ของ Kaplan & Norton๔. การประเมินสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกด้วยเครื่องมือต่างๆ เช่น SWOT Anaylysis, Competitive Profile Matrix, Porter 5’s Forces Model เป็นต้น วิธีการค้นหาข้อได้เปรียบเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Advantage) ขององค์การ เพื่อการวางแผนยุทธศาสตร์ที่ เฉียบคม ที่สอดคล้องกับ หมวด ๒ การวางแผนยุทธศาสตร์ ในระบบการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA)๕. การกำหนด/ทบทวนวิสัยทัศน์ (Vision) ในระยะยาว ข้อได้เปรียบเชิงยุทธศาสตร์ขององค์การบูรณาการ กิจกรรมการดำเนินงาน ๑. การวางแผนการดำเนินการ(P_Plan) ดำเนินการร่วมกันวิพากษ์แผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ร่วมกัน และแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระยะ ๕ ปี๒. การดำเนินงานตามแผน (D_Do) ดำเนินการสรรหาวิทยากรตามคุณสมบัติ และความเหมาะสม โดยกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการประกอบด้วยผู้บริหารและบุคลากรมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์จัดหางบประมาณ สถานที่จัดโครงการ และแต่งตั้งคณะกรรมทำงาน ให้บรรลุเป้าหมาย๓. การติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน (C_Check) การติดตามประเมินผลโดยจัดทำแบบสอบถามกับผู้เข้าร่วมโครงการ เพื่อประเมินความพึงพอใจ รวมถึงสถานที่ ระยะเวลา ภาพรวมของโครงการ๔. การปรับปรุง/พัฒนา/แก้ไขจากผลการติดตาม (A_Action) (กรณีเป็นโครงการต่อเนื่อง)ผู้เข้าร่วมโครงการประกอบด้วย อธิการบดี รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี คณบดี ผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการสถาบัน รองคณบดี รองผู้อำนวยการสำนัก รองผู้อำนวยการสถาบัน ผู้อำนวยการกอง และบุคลกรกองนโยบายและแผน ถกแถลง : แผนการผลิตกําลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์และการขับเคลื่อนระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมอย่างมีส่วนร่วมตามแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย คณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร คณบดีคณะบริหารศาสตร์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม และผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา การบรรยายหัวข้อ “พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้าง และบริหารพัสดุภาครัฐ ปี พ.ศ. ๒๕๖๐” โดย นายจิตรนรา นวรัตน์ อัยการอาวุโส การบรรยายหัวข้อ “การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management : HRM) และการสร้างแรงจูงใจและแรงขับเคลื่อนในการทำงาน (Inspire to Change)”โดย ดร.จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร กิจกรรม Workshop (๑๐-Quick wins/ ๑-๑๐ Projects) ถกแถลง : พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้าง และบริหารพัสดุภาครัฐ ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ และการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management : HRM) และการสร้างแรงจูงใจและแรงขับเคลื่อนในการทำงาน (Inspire to Change) โดย คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา คณบดีคณะศิลปศาสตร์ และ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน การบรรยายหัวข้อ “การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ”โดย นายยุทธนา สาโยชนกร รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ

Share this post with your friends

Share on facebook
Share on google
Share on twitter
Share on linkedin