Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest

ระหว่างวันที่ ๑๖ – ๑๘ สิงหาคม ๒๕๖๕ รองศาตราจารย์จิระพันธ์ ห้วยแสน อธิการบดีมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดงานสัปดาห์วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติส่วนภูมิภาค ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ ณ หอประชุมอเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พื้นที่นามน  โดยมีคณะผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ และแขกผู้เกียรติร่วมงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติส่วนภูมิภาค ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ ซึ่งจัดขึ้นโดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชยุทธ จันทะรี รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ กล่าวรายงานต่อประธานในพิธีว่า การจัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติส่วนภูมิภาค ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้

          ๑. เพื่อเทิดพระเกียรติและพระปรีชาสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของ “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย”

          ๒. เพื่อเทิดพระเกียรติและพระปรีชาสามารถของ .”พระบิดาแห่งเทคโนโลยีไทย” และ “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย”

          ๓. เพื่อเทิดพระเกียรติและพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐

          ๔. เพื่อสร้างเครือข่ายองค์กรด้านวิทยาศาสตร์ อันประกอบด้วย มหาวิทยาลัย โรงเรียน หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ตลอดจนชุมชนในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์

          ภายในงานประกอบด้วย

          ๑. พิธีถวายพานพุ่มสักการะ “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” นิทรรศการเทิดพระเกียรติ และพระปรีชาสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช ในฐานะทรงเป็น “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย”นิทรรศการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในฐานะทรงเป็น “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีไทย” และ “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย”

          ๒. นิทรรศการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐

          ๓. นิทรรศการและกิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) ที่เป็นภารกิจหลักหรือเป็นความเชี่ยวชาญของสถาบันการศึกษา

          ๔. นำเสนอผลงานโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Bio-Circular-Green Economy; BCG) ของอาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

          ๕. กิจกรรมการประกวดและการแข่งขันทักษะทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน ๑๑ กิจกรรม โดยมีผู้เข้าร่วมการประกวดและแข่งขัน ทั้งสิ้น  ๔๔๑  ทีม จาก ๒๑๒ โรงเรียน ประกอบด้วย

                   ๕.๑ การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ (ประเภททีม) มีผู้เข้าแข่งขัน จำนวน ๑๖ ทีม จาก ๑๕ โรงเรียน

                   ๕.๒ การแข่งขันเรียงความด้านวิทยาศาสตร์ (ประเภทเดี่ยว) มีผู้เข้าแข่งขัน จำนวน ๘๘ ทีม จาก ๕๒ โรงเรียน

                   ๕.๓ การประกวดภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ประเภททีม) มีผู้เข้าแข่งขัน จำนวน ๑๕ ทีม จาก ๑๑ โรงเรียน

                   ๕.๔ การแข่งขันตอบปัญหาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ประเภททีม) มีผู้เข้าแข่งขัน จำนวน ๑๐๘ ทีม จาก ๗๑ โรงเรียน

                   5.๕ การแข่งขันทักษะทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ประเภททีม) มีผู้เข้าแข่งขัน จำนวน ๘ ทีม จาก ๘ โรงเรียน

                   ๕.๖ การแข่งขันเครื่องบินกระดาษพับ (ประเภทเดี่ยว) มีผู้เข้าแข่งขัน จำนวน ๑๕ ทีม จาก ๙ โรงเรียน

                   ๕.๗ การแข่งขันจรวดขวดน้ำประเภทแม่นยำ (ประเภททีม) มีผู้เข้าแข่งขัน จำนวน ๕๐ ทีม จาก ๒๓ โรงเรียน

                   ๕.๘ เกมอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) การแข่งขันเกม ROV แบบ  ออนไลน์ (ROV Online Competition) (ประเภททีม) มีผู้เข้าแข่งขัน จำนวน ๑๐๓ ทีม

                   ๕.๙ การแข่งขันสิ่งประดิษฐ์ด้วยบอร์ดสมองกลฝังตัว KidBright ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ประเภททีม) มีผู้เข้าแข่งขัน จำนวน ๘ ทีม จาก ๗ โรงเรียน

                   ๕.๑๐ การประกวดแข่งขันเล่านิทานประกอบสื่อ ระดับอนุบาล (ประเภทเดี่ยว) มีผู้เข้าแข่งขัน จำนวน ๓ คน จาก ๓ โรงเรียน

                   ๕.๑๑ การแข่งขันบั้งไฟโพรเจกไทล์ (ประเภททีม) มีผู้เข้าแข่งขัน จำนวน ๒๗ ทีม จาก ๑๓ โรงเรียน                         

                   ๕.๑๒ การอบรมเชิงปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ประกอบด้วย ๓ ฐาน ได้แก่

                             ฐานที่ ๑ ทักษะการประเมินสัณญาณชีพ

                             ฐานที่ ๒ ทักษะการช่วยเหลือผู้ที่มีสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจ

                             ฐานที่ ๓ ทักษะการช่วยเหลือฟื้นคืนชีพ (CPR)

                   มีผู้เข้าร่วมอบรมทั้งหมด ๑๓๕ คน จาก ๓ โรงเรียน

          ๖. การแสดงผลงานและออกร้านของหน่วยงานภายนอก ประกอบด้วย สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดกาฬสินธุ์ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว และโครงการ U2T for BCG  โดยในวันที่ ๑๖-๑๗ สิงหาคม ๒๕๖๕ มีเข้าร่วมกิจกรรมแล้วทั้งสิ้น ๑,๓๓๒ คน

          รองศาตราจารย์จิระพันธ์ ห้วยแสน อธิการบดีมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์  กล่าวว่า งานสัปดาห์วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติส่วนภูมิภาค ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ ซึ่งจัดโครงการโดยสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมและมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

          จากคำกล่าวรายงาน “สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติส่วนภูมิภาค ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕” มีความสำคัญต่อวงการวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ และการศึกษาของไทย เนื่องจากเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏ วิทยมหาราช รัชกาลที่ ๔ ได้ทรงแสดงพระปรีชาสามารถด้านวิทยาศาสตร์ในการคำนวณการเกิดสุริยุปราคา ณ ต.หว้ากอ อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ ได้อย่างแม่นยำล่วงหน้าถึง ๒ ปี

          มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เป็นหน่วยงานที่สร้างความตระหนักและให้ความสำคัญในการจัดกิจกรรมเนื่องในสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติขึ้นเป็นประจำทุกปี ปีนี้มีการจัดงานเป็นรูปแบบออนไลน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ตลอดจนความสนุกสนาน และการมีส่วนร่วมกับเยาวชน และประชาชน รวมทั้ง เสริมสร้างแรงบันดาลใจ ความสนใจ ความตื่นตัว และความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม

          สำหรับผลการแข่งขัน มีดังนี้

           การแข่งขันเกม ROV แบบออนไลน์ (ROV Online Competition) (ประเภททีม)

  • รางวัลชนะเลิศ ทีม KPS E-Sport จากโรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ ทีมSamchaiSC e-Sports จากโรงเรียนสามชัย
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ ทีม Secret name จากโรงเรียนกมลาไสย
  • รางวัลชมแชย ทีมSPK No.๑ จากโรงเรียนสมเด็จพิทยาคม

การแข่งขันการประกวดเรียงความด้านวิทยาศาสตร์ (ประเภทเดี่ยว)

  • รางวัลชนะเลิศ   นายศุภกานต์ จำเริญสัตย์ โรงเรียนห้วยผึ้งพิทยา
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑        นางสาวพัชริดา  คาดีวี              โรงเรียนเนินยางประชาสามัคคี
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒        เด็กหญิงสุชาดา  ยาวรัมย์          โรงเรียนจำปาหลวงวิทยาคม
  • รางวัลชมเชย     เด็กหญิงพัทธนันท์  ฤทธิ์ขันธ์                           โรงเรียนโคกล่ามพิทยาคม

ประเภทภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

  • รางวัลชนะเลิศ   เด็กหญิงมิเชล มุกดาภรณ์ จอมทรักษ์                 โรงเรียนกมลาไสย
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ เด็กชายเดเนียล โกดิน                      โรงเรียนพรชัยวิชชาลัย
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒        เด็กหญิงสิริกร  วะสัตย์             โรงเรียนบัวขาว
  • รางวัลชมเชย     นางสาวปราณปรียา อุปนิ                              โรงเรียนบัวขาว

ประเภทภาษาไทย ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

  • รางวัลชนะเลิศ   นางสาวยลดา  เสนาสุข                                โรงเรียนเมืองกาฬสินธุ์
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑        นางสาวเพ็ญพิชชา  โพธิสาร        โรงเรียนโคกล่ามพิทยาคม
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒        นางสาวตมิสา บรรเจิด              โรงเรียนห้วยผึ้งพิทยา
  • รางวัลชมเชย     นายเขมชาติ นพคุณ                                    โรงเรียนสามชัย

      ประเภทภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

  • รางวัลชนะเลิศ        นางสาวศุภสุตา เกื้อปัญญา                   โรงเรียนอนุกูลนารี
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑    นางสาวชญานินทร์ ถนัดค้า         โรงเรียนเอกปัญญา
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒    นางสาวปิยากร ดลกุล              โรงเรียนบัวขาว
  • รางวัลชมเชย          นางสาวศตพร จิตระวัง                        โรงเรียนพรชัยวิชชาลัย

การแข่งขันเครื่องบินกระดาษพับ (ประเภทเดี่ยว)

  • รางวัลชนะเลิศ   เด็กชายเตชินท์  ผาโคตร                              โรงเรียนหนองคอนเตรียมราษฎร์บำรุง
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑        เด็กชายวัชรศักดิ์ กรทิพย์           โรงเรียนบ้านนาวิทยาคม
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒        เด็กชายสุวิจักษณ์ สิมทอง          โรงเรียนขวัญฤทัยพัฒนวิชช์
  • รางวัลชมเชย     เด็กชายวงศกร คำหอม                                 โรงเรียนวัดเวฬุวัน
  • รางวัลชมเชย     เด็กชายสุภัทรกร นันทสมบัตื                           โรงเรียนบ้านนาวิทยาคม

           การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ (ประเภททีม)

  • รางวัลชนะเลิศ   ๑. นางสาวสิริรัตน์ เอี่ยมชื่นมงคล ๒. นายชัชพิสิฐ กะมะรี ๓. นางสาวรัชนีกร มัสเจริญ

๔. นางสาวยุวธิดา สุรพร           โรงเรียนโพนทองพัฒนาวิทยา

     2. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑  นางสาวมุฑิตา โคตรเขื่อน ๒. นางสาวศุภิศรา ภูกองไชย ๓. นางสาวจุฑาลักษณ์

        อุ่นทะมณี ๔. นางสาวสุนิสา มัครมย์ ๕. นางสาวปัทมพร ยาพิบูลย์       โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร

     ๓. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒  ๑. นายไกรวิชญ์  เถาชารี ๒. นายนิจภัทร์  เทศารินทร์ ๓. น.ส.สุพัตรา  ภูมิรินทร์

        โรงเรียนคำม่วง

    ๔. รางวัลชมเชย ๑. นางสาวมนัสนันท์  จันทร์เหลือง ๒. นางสาวธนพร กาฬหว้า ๓. นางสาวอภิรดี ตาทิพย์

        ๔. นายธนภัทร์  ศรีมัง       โรงเรียนบัวขาว

           การแข่งขันสิ่งประดิษฐ์ด้วยบอร์ดสมองกลฝังตัว KidBright ระดับม.ปลาย (ประเภททีม)

๑.รางวัลชนะเลิศ      ๑. นางสาวรุ่งทิวา สำราษพงษ์  ๒. นางสาวเพชรรัตน์ เนื่องพัฒน์ ๓. นางสาวพิมพ์ชนก ศรีชะตา     โรงเรียนเมืองกาฬสินธุ์

๑. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑  ๑.นายกรวิชญ์ มะลัย ๒. นายศุภชัย สุปัญญา ๓.นางสาวจิณัฐตา วิเศษนันท์  โรงเรียนกมลาไสย

๑. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒  ๑. นางสาว ธิรดา ภูกก ๒. นางสาว บุศรินทร์ โกณะสิทธิ์  โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร

๑.รางวัลชมเชย  ๑. นางสาว จีราพรรณ คิมหันต์ ๒. นางสาว ทรงอัปสร โทรหงสา ๓. นางสาว นีรชา อุดมพร

โรงเรียนโคกล่ามพิทยาคม

  • รางวัลชมเชย  ๑.นายสุดเขต กาญบรรจง ๒.นายศิวะพร กาบขัน ๓.นายคฑาวุฒิ  บุญพูล  

โรงเรียนกาฬสินธุ์ปัญญานุกูล

การแข่งขันจรวดขวดน้ำประเภทแม่นยำ (ประเภททีม)

ระดับประถมศึกษา

  • รางวัลชนะเลิศ เด็กชายชนกันต์ บุญต่อ เด็กชายธนกฤต ทองหอม เด็กชายธนภัทร ปัญญาวงค์    โรงเรียนบ้านปทุมวาปี
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ ๑. เด็กชายศิริมงคล รอดโพธิ์ทอง ๒. เด็กชายกรวิทย์ คำสอิ้ง ๓.เด็กชายปฏิพัทธ์ บุญล้ำ  โรงเรียนบ้านปทุมวาปี
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ ๑. เด็กชายกฤษดาพงศ์ ขันโสดา ๒. เด็กชายธนชัย มุขสาร ๓.เด็กหญิงอารีย์ เสนาะเสียง  โรงเรียนนิคมลำปาววิทยา
  • รางวัลชมเชย     ๑. เด็กหญิงอลิษา วิเชียรไชย ๒. เด็กชายวชิรพงศ์ ปรีจำรัส ๓. เด็กหญิงนิระดา ภูผิวเงิน นายฐิติศักดิ์ หอมมา โรงเรียนดงน้อยสงเคราะห์

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

  • รางวัลชนะเลิศ ๑. เด็กชายขวัญประชา  สุดชา ๒. เด็กหญิงนัทธ์ชนัน  ทศชา ๓. เด็กหญิงอัจรา  ผลาพรหม

โรงเรียนบ้แก่นนครวิทยาลัย

  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑  ๑. ส.ณ.ณัฐวุฒิ  ครองประสงค์ ๒. ส.ณ.พีรภัทร  อามาตสมบัติ ๓. ส.ณ. เจษฎา 

อินทรทิพย์       โรงเรียนปริยัติสามัญวัดประชานิยม

  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒  ๑. เด็กชายณปกร  กุนอก ๒. เด็กหญิงอภิชญา  ศรีชำนิ  ๓. เด็กหญิงกิตติยาพร  สุนทรพิทักษ์  โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย
  • รางวัลชมเชย     ๑. เด็กชายพิชญะ หมีพิต ๒. เด็กชายกฤษณะศักดิ์  สมอ่อน ๓. เด็กหญิงอทิติยา  ชัยคำภา  โรงเรียนเมืองกาฬสินธุ์

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

  • รางวัลชนะเลิศ  ๑. นายธนศักดิ์  ภูมิแสง ๒. นายภูรินท์ พลเยี่ยม ๓. นายสุวิจักขณ์  คำจูมจัง

โรงเรียนโพนทองพัฒนาวิทยา

  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ยภูบดินทร์  มีหอม ๒. นายฉัตรปกรณ์  คงศรีสรรค์ ๓. นายพีระ  ศิริมาลา

โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย

  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ ๑. นายชลฐกร  การนา ๒. นายชัยสิทธิ์  ไทยอ่อน ๓. นายภูมิเงิน  ผาผงโรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย
  • รางวัลชมเชย ๑. นายยงยุทธ มะลิต้น ๒. นายพีระภัทร ทองภู นายนิธิกร พรมคำบุตร  โรงเรียนห้วยผึ้งพิทยา

การแข่งขันการตอบปัญหาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ประเภททีม)

  • รางวัลชนะเลิศ   ทีมร้อยเอ็ดวิทยาลัย ๑    ๑. เด็กชายพลกฤต ศิริเลี้ยง ๒. เด็กหญิงณัฐนันท์ เอกทัศน์

๓. เด็กหญิงนิรัชญาพร บุตรตะกาศ          โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย

  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑  โรงเรียนสารคามพิทยาคม ๑. เด็กหญิงฐิติรัตน์ แม่นเมือง ๒. เด็กหญิงศรุดา  ศรีสารคาม ๓. เด็กชายนราวิชญ์   คำมิทัน         โรงเรียนสารคามพิทยาคม
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยมุกดาหาร ๑  ๑. เด็กหญิงภัฏฐริภา อุดมรัตน์ ๒. เด็กหญิงภัฏฐริภา อุดมรัตน์ ๓. เด็กชายวชิรวิชญ์ ชาภูมี ๔. เด็กชายปรีชาพรรดิ์ นามบุญลือโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยมุกดาหาร
  • รางวัลชมเชย แก่นนครวิทยาลัย ม.ต้น ๑ ๑. เด็กหญิงฐิติภา  ประจันตะเสน ๒. เด็กหญิงธนัชญา สีเป้ด

๓. เด็กหญิงเบญญาภา มณีวรรณ   โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

  • รางวัลชนะเลิศ        ๑. นายธนภูมิ วีระพันธ์ ๒. นายภูมินทร์ ศรีชูนิ่ม 3. นายกรรฐ์ เหมือดนอก      โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑    ๑. นายปัณณวัฒน์ งามอุไร ๒. นายอัครพล สีแก้วก่ำ ๓. นางสาวพิมพ์ดารณี เสงี่ยมวิบูล   โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒    ๑. นางสาวณิชาภา สุขประเสริฐ ๒. นางสาวปนัสยา ปุ๊กหมื่นไวย์

๓. นางสาวอริสา พานอนันต์   โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย

  • รางวัลชมเชย          ๑. นายรัชนาท หงษาชุม ๒. นายภูริวัฒน์ ภูดวงดาษ ๓. นางสาวพราวนภา รุ่งเรืองโรงเรียนคำม่วง

การแข่งขันบั้งไฟโพรเจกไทล์ (ประเภททีม)

  • รางวัลชนะเลิศ PHYSICS EASY ๑  ๑. นายณัฏฐกรณ์ สิมสิงห์ ๒. นายสรวิทย์ งามศักดิ์ ๓.นายอนุวัต ภูสีคุณ โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีมคำม่วง ๑ ๑. นายชรินทร์ ราชดี ๒. นายอนุสรณ์ พองพรหม ๒. นางสาวสภาพร ทองหมู่   โรงเรียนคำม่วง
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ ทีมPHYSICS EASY ๓ ๑. นางสาวธิดารัตน์ รุ่งบรรเทา ๒. นายชนะชัย งามนิล     ๓.นางสาวอภิชญา แปนมา  โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร
  • รางวัลชมเชย  ทีมร่องคำจับจูด ๑. นายกฤษฎา ตาขันทอง ๒. นายศรัณยพงศ์ ชื่นนิรันดร์ ๓. นายนัฐนัย พลเยี่ยม โรงเรียนร่องคำ

ระดับประชาชนทั่วไป

  • รางวัลชนะเลิศ ทีมหนูน้อยหมวกแดง นางสาวสุธาสินี บุตตะสุริย์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ ทีมบ่มีครับ     ๑. นายจตุพล   ศรีรัมย์ ๒. นายอนุสรณ์ ทองพรหม ๓. นางสาวสุภาพร ทองหมู่  มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ ทีมงานปั้นหำตาก ๑. นายณรงค์ชัย นาเมืองรักษ์ ๒. นายอนุกูล ณะรักมากมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • รางวัลชมเชย     ยางตลาด ๑ นางสาวอรวรรณ พรรณขาม   มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

การประกวดภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ประเภททีม)

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

  • รางวัลชนะเลิศ   ทีมโรงเรียนบัวขาว ๑. นางสาวพัทธ์ธีรา   ยุระตา ๒. เด็กหญิงปานชีวา   เข็มรัมย์

๓. เด็กหญิงสิริยากร   บัวสาย โรงเรียนบัวขาว

  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ ทีมสครับจากผิวมะกรูด ๑. เด็กหญิงจิราภา ฤทธิ์รุ่ง ๒. เด็กหญิงฟ้ารุ่ง รัดที

๓. เด็กชายธนกฤต วรรณสังข์ โรงเรียนสมเด็จพิทยาคม

  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ ทีมครีมย้อมผมหงอกจากใบเทียนกิ่ง ๑. เด็กหญิงภัคกร จันโทวาท

๒. เด็กหญิงนิชา โคสันเด็กชายตะวัน พันนาดี โรงเรียนสมเด็จพิทยาคม

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

  • รางวัลชนะเลิศ   ทีมห้วยผึ้งพิท     ๑. นางสาวปิยรัตน์ คำศรี ๒. นางสาวปิยะนันท์ พูลจรัส

๓. นางสาวณัฐฐินันท์ พลาศรี       โรงเรียนห้วยผึ้งพิทยา

  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ ทีมพลัสเตอร์จากใบสาบเสือ ๑. นางสาเชิญขวัญ ยันศรี ๒. นางสาวนัทมน ตั้งปรัชญากูล 3. นางสาววัลยา ภูผานี  โรงเรียนอนุกูลนารี
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ ทีมตะโกนา ๔๐ ดีกรี    ๑. นางสาวอารดา ผลรักษา ๒. นางสาวปวันรัตน์ ลาสีทัศน์ ๓. นางสาวปริญญาพร ตุลาพัฒน์  โรงเรียนสมเด็จพิทยาคม
  • รางวัลชมเชย ทีมE-yangwa        ๑. นางสาวนันทิยา นามวิเชียร ๒. นางสาวเพ็ญพิชชา ไชยศิรินทร์

๓. นางสาวอริสรา ชำนาญกิจ      โรงเรียนอนุกูลนารี

การประกวดแข่งขันเล่านิทานประกอบสื่อ (ประเภทเดี่ยว)

  • รางวัลชนะเลิศ   เด็กหญิงพิชญ์สุดา  ไพศาล         โรงเรียนเอกปัญญา
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑  ด.ญ.วรรณรสา พฤษฎี  โรงเรียนขวัญฤทัยพัฒนวิชช์
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ เด็กหญิงสุพิชญา  ไชยแสง โรงเรียนหนองคอนเตรียมราษฎร์บำรุง

 

Share this post with your friends

Share on facebook
Share on google
Share on twitter
Share on linkedin