คณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม สภาผู้แทนราษฎร ร่วมกิจกรรมสัมมนา เรื่อง การวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรฐานราก : กาฬสินธุ์โมเดล

Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest

เมื่อวันที่ 25 ก.ย. 2564 ที่หอประชุมอเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พื้นที่ในเมือง นายทรงพล ใจกริ่ม ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ ให้การต้อนรับ ศ.ดร.กนก วงษ์ตระหง่าน รองประธานคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม สภาผู้แทนราษฎร และคณะ ในโอกาสเดินทางมาร่วมกิจกรรมสัมมนา เรื่อง “การวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรฐานราก : กาฬสินธุ์โมเดล” โดยมี รศ.จิระพันธ์ ห้วยแสน อธิการบดีมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมสัมมนา ทั้งนี้ โครงการกาฬสินธุ์โมเดล เป็นการดำเนินการโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ร่วมกับส่วนราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อการวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรฐานราก สร้างอาชีพเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและยกระดับรายได้เกษตรกรรองรับวิกฤตการณ์โรคติดเชื้อโควิด-19 พื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อนำองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม รวมทั้งผลงานวิจัยและพัฒนาไปเผยแพร่และใช้ประโยชน์กับเกษตรกรในจังหวัดกาฬสินธุ์ให้มีเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีเป้าหมายให้กลุ่มเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น 10,000 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน หรือเพิ่มขึ้นจากเดิม 30 เปอร์เซ็นต์ต่อครัวเรือนต่อเดือน โดยกิจกรรมโครงการกาฬสินธุ์โมเดล ได้ดำเนินการลงพื้นที่กลุ่มเกษตรกรฐานรากในจังหวัดกาฬสินธุ์ และเป็นการนำร่องเริ่มในปีที่ 1 โดยมีเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 162 ครัวเรือน ครอบคลุมพื้นที่ 4 อำเภอ 4 ตำบล ได้แก่ 1. ตำบลนาจำปา อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์2. ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์3. ตำบลสำราญใต้ อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ 4. ตำบลหนองผ้าอ้อม อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ชุดโครงการวิจัย การสร้างอาชีพทางเลือกบนทรัพยากรฐานราก เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและยกระดับรายได้เกษตรกรรองรับวิกฤตการณ์โรคติดเชื้อโควิด-19 พื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ภายใต้โครงการย่อย โครงการวิจัยย่อยที่ 1 การเพิ่มรายได้เกษตรกรฐานรากกลุ่มผู้ผลิตพืชไร่อุตสาหกรรมในจังหวัดกาฬสินธุ์ โครงการวิจัยย่อยที่ 2 นวัตกรรมการผลิตไก่พื้นเมืองเพื่อสร้างอาชีพและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของเกษตรกรรายย่อยโครงการวิจัยย่อยที่ 3 นวัตกรรมเพื่อชุมชนเกษตรกรกลุ่มสัตว์น้ำสู่การพัฒนาอาชีพอย่างยั่งยืน โครงการวิจัยย่อยที่ 4 นวัตกรรมเพื่อชุมชนเกษตรกรกลุ่มสิ่งทอสู่การพัฒนาอาชีพอย่างยั่งยืน โครงการวิจัยย่อยที่ 5 นวัตกรรมแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเพื่อพัฒนาอาชีพอย่างยั่งยืน

Share this post with your friends

Share on facebook
Share on google
Share on twitter
Share on linkedin