นักวิจัย ม.กาฬสินธุ์ นำนวัตกรรมสู่ชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิต การจัดจำหน่าย ตลอดจนการเพิ่มมูลค่าของเหลือทิ้ง เกิดราย ชุมชนสามารถพึ่งตนเอง

Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest

นักวิจัย ม.กาฬสินธุ์ นำนวัตกรรมสู่ชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิต การจัดจำหน่าย ตลอดจนการเพิ่มมูลค่าของเหลือทิ้งต่างๆ ให้เกิดรายได้สูงสุด และทำให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเอง มีการช่วยเหลือเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน รายได้ของชุมชนเพิ่มขึ้น อันจะทำให้ระบบเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนบ้านหนองแสง และบ้านคำเขื่นแก้วเหนือ ต.สำราญใต้ อ.สามชัย จ.กาฬสินธุ์ ดีขึ้นและเข้มแข็งอย่างยั่งยืน จากการลงพื้นที่ ของนักวิจัย เพื่อสำรวจข้อมูลเบื้องต้นและสัมภาษณ์ชุมชน บ้านหนองแสง ตำบลสำราญใต้ อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่าอาชีพเสริมที่ชุมชนทำคือการทำผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำนั้น ยังมีการทำแบบครัวเรือนและยังขาดความรู้ตามหลักวิชาการอย่างมาก อีกทั้งยังขาดความรู้ในด้านการผลิตและการแปรรูปสัตว์น้ำเพื่อเพิ่มมูลค่า ขาดความรู้ด้านการตลาดและการจัดการทำให้ถูกกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้หลายชนิดยังไม่สามารถส่งจำหน่วยในท้องตลาดอย่างกว้างขวางได้ จากการสังเกตชุมชนหนองแสงมีความกระตือรือร้นและมีความต้องการสูงที่จะทำงานและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในชุมชนเพื่อยกระดับรายได้ในครัวเรือนให้สูงขึ้น และเมื่อวิเคราะห์พบปัญหาต่างๆ ในการแปรรูปสัตว์น้ำที่ต้องการรับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ได้แก่ 1) ปัญหาสูตรในการผลิตปลาร้ายังไม่เหมาะสมยังต้องการผู้มีองค์ความรู้เข้าไปช่วยในการพัฒนาสูตร 2) ผลิตภัณฑ์ปลาส้มถูกกดราคาจากพ่อค้าคนกลางเนื่องจากสินค้าของชุมชนยังไม่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางทำให้การซื้อขายถูกผูกขาดเฉพาะราย อีกทั้งบรรจุภัณฑ์ยังไม่ได้มาตรฐาน 3) ปลาแห้ง ปลาวง และปลาซิวแก้วยังขาดความรู้ในการผลิตให้มีคุณภาพและบรรจุภัณฑ์ที่มีมาตรฐาน 4) ปลาสดราคาต่ำ และยังไม่มีการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า และ 5) ของเหลือทิ้งจากการแปรรูปยังไม่ได้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อเพิ่มรายได้ให้สูงขึ้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนในการหาแนวทางแก้ปัญหาดังกล่าวโดยผู้มีความรู้และชำนาญเฉพาะด้าน วันที่ 10-11 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา นักวิชาการ ได้เล็งเห็นปัญหาดังกล่าว ได้ลงพื้นที่นำทีมผู้มีความรู้และชำนาญเฉพาะด้าน และการนำนวัตกรรมต่างๆ จากนักวิจัยในสถานศึกษาเข้าไปให้ชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิต ช่องทางในการจัดจำหน่าย ตลอดจนการเพิ่มมูลค่าของเหลือทิ้งต่างๆ ให้เกิดรายได้สูงสุด และทำให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเอง มีการช่วยเหลือเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน รายได้ของชุมชนเพิ่มขึ้น อันจะทำให้ระบบเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนบ้านหนองแสง ต.สำราญใต้ อ.สามชัย จ.กาฬสินธุ์ ดีขึ้นและเข้มแข็งอย่างยั่งยืน จุดประสงค์ 1. ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ปลาร้าให้มีคุณภาพ และจำหน่ายได้อย่างกว้างขวาง 2. ปรับปรุงสูตรน้ำพริกปลาส้ม บรรจุภัณฑ์ของปลาส้ม และเปิดช่องทางการตลาดให้หลากหลายและกว้างขวาง 3. ปรับปรุงกระบวนการผลิตและปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ปลาแห้ง (ปลาวงและปลาซิวแก้ว) และปรับปรุงสูตรน้ำพริกนรกปลาแห้งให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน และเปิดช่องทางการตลาดให้หลากหลายและกว้างขวาง 4. นำปลาสดมาแปรรูปเป็นข้าวเกรียบปลา 5. นำเศษเหลือทิ้งมาทำน้ำหมักชีวภาพ 6. พัฒนาตราสินค้าและช่องทางการตลาดสินค้าสัตว์น้ำ

Share this post with your friends

Share on facebook
Share on google
Share on twitter
Share on linkedin