Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest

มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ร่วมกับบริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) พัฒนาหมู่บ้านต้นแบบการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม

          วันที่ 12 พฤศจิกายน 2562  โดยรศ.จิระพันธ์ ห้วยแสน อธิการบดีมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ นำคณะผู้บริหาร คณาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ลงพื้นที่จัดทำโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนารูปแบบการพัฒนาเชิงพื้นที่ : กรณีศึกษาเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกรามพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นการพัฒนากระบวนการของทักษะงานชุมชน ตลอดจนพัฒนาบุคลากรให้เกิดองค์ความรู้ และทักษะขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเข้าไปแก้ไขปัญหาสำคัญของพื้นที่ (Key Problems) และพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ในรูปแบบของกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) ซึ่งในพื้นที่ต้นแบบบ้านโนนภักดี คือ การเลี้ยงกุ้ง จะมีกระบวนการพัฒนาต้นแบบ (Model) ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำก่อนขยายผลไปสู่ระดับตำบล อำเภอ หรือจังหวัดในระยะต่อไป ทั้งนี้หัวใจสำคัญคือการสร้างความเป็น Facilitator ขององค์กร และดึงกลไกหลักในชุมชน/ท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วมอย่างเป็นรูปธรรม วัตถุประสงค์ของแผนการทำกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย (1) วิเคราะห์ปัจจัยและเงื่อนไขของการพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน โดยการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกรามพื้นที่บ้านโนนภักดี ตำบลนาเชือก อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ (2) ถอดบทเรียนการพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่แบบองค์รวมเพื่อสร้างต้นแบบในการส่งเสริมให้เกิดการประกอบอาชีพจากการมีส่วนร่วมของชุมชน (3) พัฒนาวิจัย และถ่ายทอดองค์ความรู้การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามเพื่อยกระดับผลผลิตการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามให้สามารถสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนในจังหวัดกาฬสินธุ์ได้ ถึงแม้ว่าจังหวัดกาฬสินธุ์มีรายได้ล้าหลังติดอันดับ 1 ใน 5 ของประเทศ ในขณะที่จังหวัดกาฬสินธุ์มีศักยภาพทั้งในด้านการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และด้านเศรษฐกิจทั้งในด้านการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์และประมง พบว่าตั้งแต่ปี 2555-2559 จังหวัดกาฬสินธุ์มีการจับสัตว์น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยเฉลี่ย 7,556.27 ล้านกิโลกรัม มีการเพาะเลี้ยงสัตว์ที่ทำรายได้ให้แก่จังหวัด เช่น กุ้งก้ามกราม และปลากระชัง โดยเฉลี่ย 3,642.88 ล้านกิโลกรัม โดยเฉพาะการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามซึ่งเป็นแหล่งการเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามแหล่งใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ ปัจจุบันมีเกษตรกรเลี้ยงกุ้งก้ามกรามทั้งสิ้น 1,147 ราย และมีเนื้อที่ทั้งสิ้น 8,329 ไร่ เลี้ยงกันมากในเขตพื้นที่อำเภอเมือง อำเภอยางตลาด อำเภอห้วยเม็ก และอำเภอสหัสขันธ์ จากรายงานสำนักงานสถิติจังหวัดกาฬสินธุ์ ปี พ.ศ. 2559 พบว่าผลผลิตกุ้งของจังหวัดกาฬสินธุ์มีปริมาณ 1,585.5 ตัน โดยแยกเป็นอำเภอเมือง 5.6 ตัน อำเภอยางตลาด 1,420.6 ตัน อำเภอห้วยเม็ก 158.6 ตัน และอำเภอสหัสขันธ์ 1.2 ตัน ในอดีตมีการศึกษาวิจัยการพัฒนาการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในจังหวัดกาฬสินธุ์จำนวนมาก แต่การศึกษาเกือบทั้งหมดเป็นการศึกษาแบบแยกส่วนที่ขาดการบูรณาการการศึกษาวิจัยอย่างเป็นระบบที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับประเด็นต่าง ๆ ในพื้นที่ จึงเกิดโครงการวิจัยภายใต้ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์และบริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) ซึ่งโครงการนี้มีการดำเนินงานวิจัยที่แตกต่างจากการวิจัยในอดีต 4 ประเด็น คือ (1) เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เชื่อมโยงทั้งด้านเศรษฐกิจ สุขภาพ สังคม การศึกษา และสิ่งแวดล้อม โดยแนวคิดการพัฒนามุ่งเน้นการพัฒนาตั้งแต่กระบวนพัฒนาขั้นพื้นฐาน (Basic) ตลอดจนพัฒนาบุคลากรให้เกิดองค์ความรู้ และทักษะขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเข้าไปส่งเสริมและพัฒนาชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถแก้ไขปัญหาสำคัญของพื้นที่ได้ (2) ให้ความสำคัญในการพัฒนาชุมชนเพื่อสร้างโอกาสทางอาชีพและการศึกษาโดยส่งเสริมให้กลุ่มเยาวชนเป็นแกนนำของชุมชนในอนาคต (3) ศึกษาโครงสร้างเศรษฐกิจชุมชนด้วยการสร้างโอกาสทางการตลาด การศึกษาห่วงโซ่ของผลผลิตรวมทั้งแนวทางการสร้างอาชีพเสริมเพื่อสร้างความยั่งยืนของเศรษฐกิจชุมชน (4) ศึกษากลยุทธ์ในการขับเคลื่อนและการแก้ไขปัญหาโดยกำหนดของเขตการพัฒนาที่ชัดเจนอย่างเป็นระบบ ดังนั้นเพื่อให้ผลลัพธ์ของโครงการสอดคล้องกับการพัฒนาพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ Kalasin Happiness Model โดยแนวคิดการพัฒนามุ่งเน้นการพัฒนาตั้งแต่กระบวนพัฒนาขั้นพื้นฐาน (Basic) ในการพัฒนากระบวนการของทักษะงานชุมชน ตลอดจนพัฒนาบุคลากรให้เกิดองค์ความรู้ และทักษะขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเข้าไปแก้ไขปัญหาสำคัญของพื้นที่ (Key Problems) และพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ในรูปแบบของกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) ซึ่งในพื้นที่ต้นแบบบ้านโนนภักดี คือ การเลี้ยงกุ้ง จะมีกระบวนการพัฒนาต้นแบบ (Model) ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำก่อนขยายผลไปสู่ระดับตำบล อำเภอ หรือจังหวัดในระยะต่อไป ทั้งนี้หัวใจสำคัญคือการสร้างความเป็น Facilitator ขององค์กร และดึงกลไกหลักในชุมชน/ท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วมอย่างเป็นรูปธรรม ผลที่คาดว่าจะได้รับ กิจกรรมที่ 1 การวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่ากุ้งก้ามกราม (1) ทราบถึงการตลาดและเศรษฐศาสตร์กุ้งก้ามกราม เพื่อให้เป็นแนวทางการผลิต (2) เพิ่มผลผลิตและลดระยะเวลาการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม (3) เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกรามมีระบบบำบัดน้ำเสียในบ่อเลี้ยงกุ้งก้ามกรามอย่างง่าย (4) มีการบริหารจัดการระบบน้ำสำหรับการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามที่เหมาะสม กิจกรรมที่ 2 การถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อการยกระดับผลผลิตกุ้งก้ามกราม (1) เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำองค์ความรู้เทคโนโลยีการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามที่ได้รับการถ่ายทอดไปใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม เช่น การคัดเลือกลูกพันธุ์ การจัดการฟาร์ม การจัดการโรค เป็นต้น (2) มีเกษตรต้นแบบที่สามารถเป็นผู้ให้คำแนะนำและเป็นพี่เลี้ยงให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ (3) เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการสามารถลดต้นทุนการผลิต และสามารถเพาะเลี้ยงกุ้งให้มีขนาดสม่ำเสมอ (4) เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการมีรายได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ในปีสุดท้ายของการดำเนินโครงการ กิจกรรมที่ 3 การพัฒนาระดับคุณภาพชีวิตแบบองค์รวม ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่ และคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนที่เข้าร่วมโครงการดีขึ้นทั้งมิติเศรษฐกิจ สุขภาพ สังคม การศึกษาและสิ่งแวดล้อม สามารถวัดผลได้ทั้งเชิงปริมาณ และคุณภาพ

Share this post with your friends

Share on facebook
Share on google
Share on twitter
Share on linkedin