ม.กาฬสินธุ์ โชว์ศักยภาพจัดแสดงนิทรรศการในงานตรานกยูงทองพระราชทาน สืบสานตำนานไหมไทย” ครั้งที่ ๑๔ ประจำปี  ๒๕๖๒ 

Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest
ม.กาฬสินธุ์ โชว์ศักยภาพจัดแสดงนิทรรศการในงานตรานกยูงทองพระราชทาน สืบสานตำนานไหมไทย” ครั้งที่ 14 ประจำปี  2562    ศูนย์ความเป็นเลิศด้านสิ่งทอพื้นเมืองแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์  จัดแสดงนิทรรศการผ้าทอพื้นเมืองจังหวัดกาฬสินธุ์ ในงาน “ตรานกยูงพระราชทาน สืบสานตำนานไหมไทย” ครั้งที่ 14 ประจำปี 2562 ณ ฮอลล์ 6-7 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี ระหว่างวันที่ 30 ก.ค. – 4 ส.ค. พ.ศ.2562      โดยในวันที่ 30 กรกฏาคม ที่ผ่านมา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเปิดงานพร้อมทอดพระเนตรนิทรรศการ และพระราชทานการ์ดรางวัลชนะเลิศการประกวดเส้นไหม ผ้าไหมตรานกยูงพระราชทานและผลิตภัณฑ์หม่อนไหม ระดับประเทศ ประจำปี 2562 รางวัลชนะเลิศผ้าไหมอาเซียนและรางวัลชนะเลิศการประกวดเส้นไหม โดยกรมหม่อนไหม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์สำหรับศูนย์ความเป็นเลิศด้านสิ่งทอพื้นเมืองแพรวากาฬสินธุ์ ได้จัดแสดงนิทรรศการโดยการนำผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมือง อาทิ ผ้าไหมแพรวา ผ้าฝ้าย ผ้ามัดหมี่ และผลิตภัณฑ์แปรรูปอื่นๆ ที่เกิดจากการดำเนินงานตามกิจกรรมต่างๆของศูนย์ฯมาจัดแสดง   รศ.จิระพันธ์ ห้วยแสน อธิการบดี มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์  กล่าวว่า ทางศูนย์ความเป็นเลิศฯได้ถวายรายงานการดำเนินงานด้านสิ่งทอพื้นเมืองแพรวากาฬสินธุ์ ที่ได้ดำเนินงานส่งเสริมและพัฒนาผ้าทอพื้นเมืองจังหวัดกาฬสินธุ์อย่างครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เพื่อให้เกิดความยั่งยืน ตามนโยบายรัฐบาลในการยกระดับอาชีพและแก้ไขปัญหาความยากจนในจังหวัดกาฬสินธุ์  รศ.จิระพันธ์   กล่าวต่อว่า ศูนย์ความเป็นเลิศด้านสิ่งทอพื้นเมืองแพรวากาฬสินธุ์  เกิดจากดำริของ พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา  นายกรัฐมนตรี  ในการแก้ไขปัญหาความยากจนในจังหวัดกาฬสินธุ์  โดยมอบหมายให้มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์  ซึ่งมีศักยภาพในการดำเนินงานด้านสิ่งทอพื้นเมืองในการพัฒนาเพื่อยกระดับรายได้และอาชีพให้กับประชาชนในพื้นที่ จึงได้ตั้งโครงการศูนย์ความเป็นเลิศด้านสิ่งทอพื้นเมืองแพรวากาฬสินธุ์  โดยเป็นโครงการต่อเนื่อง 3 ปี ระหว่างปี พ.ศ.2562 –  2564  และได้แต่งตั้งที่ปรึกษาและคณะทำงานจากหน่วยงานและองค์กรทั้งภายในและภายนอก เพื่อร่วมกันทำงานโดยได้เน้นการวิจัยแบบมีส่วนร่วม  การถ่ายทอดองค์ความรู้และนวัตกรรม ที่ส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ผ่านแผนงานตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply  Chain)   “การดำเนินงานในปี 2562 ช่วงไตรมาส 1-3 ทางโครงการได้ดำเนินงานพัฒนาผ้าทอพื้นเมืองกาฬสินธุ์ตั้งแต่ระดับต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ โดยระยะต้นน้ำ จะเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตคุณภาพการเลี้ยงหนอนไหมและคุณภาพของเส้นไหม  รวมทั้งคุณภาพการฟอกย้อม ส่วนระยะกลางน้ำ เน้นรักษารูปแบบการทอผ้าแบบดั้งเดิมและการผ้าทอร่วมสมัย  ตลอดจนการแปรรูปสิ่งทอและผลิตภัณฑ์จากหม่อนไหมสู่กลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย ขณะที่ระดับปลายน้ำ เน้นการส่งเสริมการตลาด ภาพลักษณ์ที่ดี และการสื่อสารสาธารณะในทุกมิติที่เกี่ยวข้องกับสิ่งทอพื้นเมือง ผ่านโครงการและกิจกรรมที่บูรณาการองค์ความรู้โดยใช้ศักยภาพและคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์” รศ.จิระพันธ์กล่าว   สำหรับผลการประกวดผ้าผู้ไทยประจำปี 2562 ซึ่งจัดประกวดใน 4ประเภท และได้เข้ารับพระราชทานรางวัลสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประกอบด้วย ประเภทผ้าซิ่นมัดหมี่ผู้ไทยโบราณ ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ คือ  นางหนูวรรณ  ทะนาจันทร์  ประเภทผ้ามัดหมี่ผู้ไท ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ คือ นางจุฑามาส  วรสาร  ประเภทผ้าแพรวาชนิดคลุมไหล่ ได้รับรางวัลชนะเลิศ คือ นางสาวสุจินดา  ศรีชาติ  ประเภทผ้าแพรวาชนิผ้าผืน ได้รับรางวัลชนะเลิศ คือ นางสาวศุจิกา  ขวัญศิริ

Share this post with your friends

Share on facebook
Share on google
Share on twitter
Share on linkedin