คณะศิลปศาสตร์ ม.กาฬสินธุ์ ถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัยด้านศิลปวัฒนธรรมสู่ชุมชนและเครือข่าย
ระหว่างวันที่ 25-26 มกราคม พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา โดยสาขาวิชานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ร่วมกับสาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ออกค่ายบริการวิชาการบูรณาการของ คณาจารย์ นักศึกษา และประชาชนได้ร่วมกันถอดบทเรียนจากงานวิจัยโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัยด้านศิลปวัฒนธรรมสู่ชุมชนนักศึกษาได้เรียนรู้จากคณาจารย์และรุ่นพี่ ณ วัดบ้านหนองช้าง ต.หนองช้าง อ.สามชัย จ.กาฬสินธุ์ ค่ายดีๆเพื่อพี่น้องกาฬสินธุ์ นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์
โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ อยู่ 3 ประเด็นหลักๆคือ
1 เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัยด้านศิลปวัฒนธรรมสู่ชุมชนและเครือข่าย
2 เพื่อบูรณาการงานด้านศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอน
3 เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวัฒนธรรมระหว่างมหาวิทยาลัยกับองค์กรในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์
อีกทั้งยังทำโครงการวิจัยเรื่อง “การแปรรูปวรรณกรรมพื้นถิ่นสู่จิตรกรรมร่วมสมัยตามแนวทางจริยศาสตร์” ที่ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์และสืบสานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์เพื่อศึกษาจริยธรรมจากมุขปาฐะกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดกาฬสินธุ์ประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ ไทญ้อบ้านแซงบาดาล ตำบลแซงบาดาล อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทบ้านหนองช้าง ตำบลหนองช้าง อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ และกลุ่มชาติพันธุ์ไทลาวนาเรียง ตำบลนาเรียง อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยการศึกษาภาคสนามแล้วนำวิเคราะห์เพื่อคัดเลือกนิทานที่มีคุณค่าเชิงจริยศาสตร์นำมาสร้างสรรค์เป็นผลงานจิตรกรรม ซึ่งงานวิจัยดังกล่าวมีคุณค่าทางด้านจริยศาสตร์ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างมาก จึงได้มีการนำงานวิจัยดังกล่าวมาจัดทำสื่อในรูปแบบของกิจกรรมและสื่อต่างๆเพื่อถ่ายทอดสู่เด็กเยาวชนและประชาชนทั่วไปในชุมชน
[ngg src=”galleries” ids=”18″ display=”basic_thumbnail”]