สืบสานประเพณี พิธียกเสาเอก ตั้งศาลปู่ตาพญาหมื่นตื้อหลังใหม่ สิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจของชาวม.กาฬสินธุ์
พิธีการยกเสาเอก ในการปลูกสร้างบ้านเรือนนี้ มีมาตั้งแต่โบราณกาล คนโบราณท่านมักจะต้องพิถีพิถัน ในการจัดพิธีบวงสรวงสังเวยสิ่งศักดิ์สิทธิ์ องค์เทพเทวา เจ้าที่เจ้าทาง ที่เป็นเจ้าของพื้นที่ดั้งเดิม ซึ่งดูแลปกปักรักษาสถานที่ดินในแต่ละสถานที่ รวมถึงการขอขมาต่อพระแม่ธรณี ในการที่เราไปกระทำการ กระทบกระเทือนผืนแผ่นดิน โดยการไปขุด ตอก เจาะ เคลื่อนย้าย ดิน ต่างๆ ชาวไทยในสมัยก่อนต่างมีความเชื่อกันอยู่หลากหลายแบบด้วยกันซึ่ง ความเชื่อสำหรับการจะสร้างบ้านให้ผ่านไปอย่างง่ายดายและอยู่อย่างมั่นคงทำให้เกิด พิธียกเสาเอกขึ้นมา ซึ่ง เสาเอก คือเสาต้นแรกของเรือนที่จะยกขึ้น อันเกี่ยวกับพิธีทางไสยศาสตร์ มีการกำหนดฤกษ์ยามทิศทาง ตามแต่หมอจะเป็นผู้ดูให้ การทำพิธียกเสาเอกจะทำให้งานก่อสร้างมีความราบรื่นไม่มีปัญหาและอุปสรรค ซึ่งเป็นความเชื่อและเป็นวัฒนธรรมประเพณีที่สืบทอดกันมา แต่พิธีการ และขั้นตอนอาจแตกต่างกันในรายละเอียด
เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2561 เวลา 08.45 น. รองศาสตราจารย์จิระพันธ์ ห้วยแสน อธิการบดีมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ นำคณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และชุมชนรอบมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์พื้นที่นามน ทำพิธียกเสาเอก ยกเสาโท ศาปู่ตาพญาหมื่นตื้อ หลังใหม่ ณ บริเวณศาปู่ตาฯ เนื่องจากหลังเดิมได้ชำรุดไปตามสภาพและกาลเวลา ทั้งนี้บุคลากรมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ จึงร่วมแรง ร่วมใจ สมทบทุนในการก่อสร้างศาลปูตาพญาหมื่นตื้อขึ้นมาใหม่ ซึ่งรวบรวมยอดในการร่วมสมทบทุนในวันดังกล่าวเป็นเงิน 41,059 บาท