ม.กาฬสินธุ์ ร่วมกับ จังหวัดกาฬสินธุ์ และโรงน้ำตาลมิตรกาฬสินธุ์ จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOU) โครงการ Big Rock Kalasin Model ลดการเผาอ้อยอย่างยั่งยืน พื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ประจำปี 2567

Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest

วันนี้ (24 กันยายน 2567) เวลา 11.00 น. ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ (นามน) อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ นายสนั่น พงษ์อักษร ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOU) โครงการ Big Rock Kalasin Model ลดการเผาอ้อยอย่างยั่งยืน พื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ประจำปี 2567 เพื่อเป็นการสร้างต้นแบบการบริหารจัดการไร่อ้อยแบบครบวงจร ลดการเผาอ้อยอย่างยั่งยืน นำไปสู่การขยายผลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อย และแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ภาคเกษตรกรของจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมี พ.อ.ประวัติ จารุตัน รอง ผอ.รมน.จังหวัดกาฬสินธุ์(ท.) นายผดุงศักดิ์ อิ่มเอิบ ปลัดจังหวัดกาฬสินธุ์ รองศาสตราจารย์จิระพันธ์ ห้วยแสน อธิการบดีมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชยุทธ จันทะรี รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ นายไพฑูรย์ ประภาถะโร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานอ้อย บริษัท น้ำตาลมิตรกาฬสินธุ์ ดร.กำพล ฤทัยวณิช Head Mitr Innovatoin บริษัท มิตผลวิจัย พัฒนาอ้อยและน้ำตาล จำกัด นายธีระพงศ์ ฤทธิโชติ เกษตรจังหวัดกาฬสินธุ์ หัวหน้าส่วนราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่โรงน้ำตาลมิตรกาฬสินธุ์ สมาคมชาวไร่อ้อย เกษตรกรผู้ปลูกอ้อย เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว


พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOU) โครงการ Big Rock Kalasin Model ลดการเผาอ้อยอย่างยั่งยืน พื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการขับเคลื่อนการทำงานร่วมกันแบบบูรณาการทั้งหน่วยงานภาครัฐ มหาวิทยาลัย ภาคเอกชน และพี่น้องชาวไร่อ้อย ได้มีบทบาทหน้าที่ร่วมกันในการขับเคลื่อนโครงการ Big Rock Kalasin Model ลดการเผาอ้อยอย่างยั่งยืน พื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้และลดปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ภาคเกษตร ในเขตพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนตอบสนองยุทธศาสตร์การพัฒนาของขังหวัดกาฬสินธุ์ ศึกษาปัญหา และดำเนินงานวิจัย เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยที่เข้าร่วมในโครงการนำเทคโนโลยีไปใช้ในการทำไร่อ้อยโดยไม่เผาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตอ้อยอย่างยั่งยืน และสร้างต้นแบบการบริหารจัดการไร่อ้อยแบบครบวงจร โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ยกระดับผลผลิตตันต่อไร่ คุณภาพอ้อย และรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยให้สูงขึ้น และนำโมเดลไปสู่การขยายในพื้นที่อื่น ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล และสนับสนุนแนวทางการดำเนินธุรกิจ ESG ของกลุ่มมิตรผลในด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม

ภาพ/ข่าว : งานสื่อสารองค์กร

Share this post with your friends

Share on facebook
Share on google
Share on twitter
Share on linkedin