ม.กาฬสินธุ์ เข้าร่วมงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ 23 ภายใต้ธีมงาน “ยอยศสิปปศิลป์ นฤตยาพิพัฒน์ สิบสองทศวรรษ ราชภัฏอยุธยา” ณ ลานโบราณสถานวัดมหาธาตุ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
เมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2568 ณ ลานโบราณสถานวัดมหาธาตุ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รักษาราชการแทน อธิการบดีมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ มอบหมายให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นวลใจ โคตรแสง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เป็นผู้แทนในการเข้าร่วมพิธีเปิดงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ 23 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 – 31 มกราคม ที่ผ่านมา ภายใต้ธีมงาน “ยอยศสิปปศิลป์ นฤตยาพิพัฒน์ สิบสองทศวรรษ ราชภัฏอยุธยา” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นวลใจ โคตรแสง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ นำบุคลากร และนักศึกษามหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เข้าร่วมงาน ซึ่งงานดังกล่าวมีสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ เข้าร่วมงานจำนวน 102 สถาบัน เพื่อร่วมสืบสานมรดกวัฒนธรรมตามภารกิจหลักของมหาวิทยาลัย ส่งเสริมและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมในระดับชาติ สร้างความตระหนักในคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวและมีความหลากหลายตามภูมิภาคต่าง ๆ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดและประสบการณ์การแสดงในแต่ละสถาบัน ส่งเสริม Soft Power ในระดับชาติ ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเฉลิมฉลอง ในวาระครบรอบ 120 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ณ บริเวณลานวัดมหาธาตุ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
โอกาสนี้ วันที่ 31 มกราคม 2568 มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ได้ส่งชุดการแสดง การแสดงชุด “ฟ้อนละคร ภูไทกาฬสินธุ์” การแสดงฟ้อนละครของชาวภูไทและฟ้อนภูไทกาฬสินธุ์เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านที่สะท้อนเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของชาวภูไทจังหวัดกาฬสินธุ์ ฟ้อนละครภูไท การแสดงนี้ผู้แสดงเป็นชาย ซึ่งจะสวมชุดพื้นเมืองและแสดงท่าฟ้อนที่สง่างามและทรงพลัง สื่อถึงความแข็งแกร่งและความกล้าหาญของชาวภูไท ท่าฟ้อนมีความพลิ้วไหวแต่ยังคงความหนักแน่น ประกอบกับจังหวะดนตรีที่เร้าใจ ฟ้อนภูไทกาฬสินธุ์ การแสดงนี้เน้นความอ่อนช้อยและงดงาม โดยผู้แสดงจะเป็นผู้หญิงที่แต่งกายด้วยชุดภูไทแบบดั้งเดิม ท่าฟ้อนมีลักษณะนุ่มนวล สื่อถึงความอ่อนโยนและความเป็นเอกลักษณ์ของหญิงชาวภูไท ดนตรีประกอบ ทั้งสองการแสดงใช้วงดนตรีพื้นบ้านอีสาน เป็นเครื่องดนตรีหลักในการบรรเลง ประกอบการขับร้องภูไทกาฬสินธุ์ ซึ่งช่วยสร้างบรรยากาศให้มีความสนุกสนานและเต็มไปด้วยกลิ่นอายวัฒนธรรมพื้นบ้าน การแสดงทั้งสองรูปแบบนี้ไม่เพียงแสดงถึงความงดงามของศิลปะการแสดงพื้นบ้าน แต่ยังเป็นการสืบสานและอนุรักษ์วัฒนธรรมของชาวภูไทให้คงอยู่สืบไป